mandag 7. desember 2015

การจดทะเบียนสมรส กับ ''ชาวนอร์เวย์'' ที่ไทย

กรุณาติดต่ออำเภอก่อนว่า ทางอำเภอต้องการเอกสารอะไรบ้าง เพราะแต่ละอำเภอ ใช้เอกสารต่างกัน
และติดต่อ UDI.No เพื่อความชัวร์



ขอบคุณ Khunnuu และ คุณ เสาวณี 

สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ขออนุญาตรวบรวมไว้ที่นี่นะคะ



สำหรับคนที่ต้องการแต่งงานที่ประเทศไทย



          จดทะเบียนสมรสกับชาวนอร์เวย์ที่ไทย ต้องให้ฝ่ายชายว่าที่สามี อ่านเอกสารทั้งหมด และ ทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด ที่เวปไซต์นี้ค่ะ http://www.emb-norway.or.th/…/bista…/Ekteskap/thaiekteskap/…

          ทางแฟนของคุณจะต้องติดต่อกับ skattekontoret ที่นอร์เวย์ เพื่อขอ เอกสารต่างๆ ต่อไปนี้

1. "Certificate of no Impediment to Marriage" (på norsk "Attest til bruk for ekteskapsinngåelse etter utenlandsk rett" tidl. kalt "Ekteskapsattest คือ ใบรับรองสถานภาพความเป็นโสดของแฟนคุณ ใบนี้ ทางไทยเราเป็นฝ่ายบังคับให้มี เพื่อรับรองว่าผู้ชายโสดจริงๆ(เค้าออกเป็นภาษาอังกฤษให้ได้) 

2. Erklæring fra brudefolkene før prøving av ekteskapsvilkårene for den part som er bosatt i Norge (registrert i Folkeregisteret) คือ ใบที่ทางฝ่ายชายจะต้องชี้แจงรายละเอียดส่วนตัวว่า เค้าเคยแต่งงานมากี่ครั้งอย่างไร และทางเราคือ ภรรยาไทย ต้องเซ็นต์รับทราบในใบนี้ด้วย ว่ารับรู้ว่าเค้าเคยแต่งงานมาก่อน และมีลูกมาก่อน รวมถึงทางฝ่ายชายจะต้องแจ้งให้ทราบในใบนี้ด้วยว่าเค้าเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือไม่ ถ้าเป็น ทางคุณก็จะต้องเซ็นต์รับทราบตรงนี้ด้วยว่า รับรู้ว่าเค้ามีโรคติดต่อร้ายแรง

3. Forlovererklæring ใบนี้คือ เพื่อนเจ้าบ่าว (หญิงหรือชายก็ได้) เซ็นต์เป็นพยานรับรู้ว่ารู้จักฝ่ายชาย ว่าเค้าเคยแต่งงานมาก่อนหรือไม่ และจะแต่งงานกับใคร และว่าการแต่งงานที่จะเกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างญาติใกล้ชิดกับญาติใกล้ชิดอะไรประมาณนี้

4. Passport สำเนาหนังสือเดินทางฝ่ายชาย

5. Skilsmisseattest ใบหย่า (ถ้าหากเค้าเคยสมรสมาก่อน)

6. Skifteattest ถ้ามี ใบรับรองว่าบ้านที่เค้ามีที่นี่เป็นของเขาคนเดียว (เป็นใบที่บอกว่าบ้านที่มีอยู่เป็นของเขาคนเดียว ทางอดีตภรรยาไม่มีสิทธิใดๆ) 

7. Erklæring om skifte แบบฟอร์มใบชี้แจงเรื่องกรรมสิทธิ์ของบ้าน (กรณี พึ่งหย่าได้ไม่เกิน 2 ปี ทางอดีตภรรยาของเค้าจะต้องเซ็นต์ในใบนี้ด้วย, ถ้าหากหย่ามานานเกินกว่า 2 ปี ทางฝ่ายชายสามารถเซ็นต์คนเดียวได้

8. Opplysninger om tilkommende ektefelle (เป็นแบบฟอร์มเกี่ยวกับรายละเอียดส่วนตัวของฝ่ายหญิง ซึ่งทางแฟนคุณจะต้องกรอกใบนี้ ไปด้วยว่า เค้าจะแต่งงานกับใคร ชื่อะไร วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ รายละเอียดเกี่ยวกับคุณ (ใบนี้ยื่นพร้อมๆ กับใบจากข้อ 1)

9. Bekreftelse på inntekt fra arbeidsgiver eller ligningskontor (ligningsattest for det siste året) หนังสือรับรองรายได้จากนายจ้างของฝ่ายชาย กรณีแฟนคุณ ก็ต้องใช้ใบแสดงภาษีรายได้ปีล่าสุด

10. Originale pass for begge partner หนังสือเดินทางของทั้งสองฝ่าย

          ส่วนเอกสารของฝ่ายหญิงก็จะต้องมี ใบรับรองความเป็นโสด (เป็นภาษาอังกฤษ) ซึ่งจำเป็นต้องให้ สถานกงสุลไทย ประทับตรารับรอง และสำเนาหนังสือเดินทาง ที่ยื่นที่เขตของฝ่ายชายที่มีถื่นที่อยู่ในนอร์เวย์ก่อน เพื่อจะได้รับเอกสาร ใบรับรองโสดของฝ่ายชาย กับหลักฐานต่างๆ ที่แจ้งมาทั้งหมดนี้

          เอกสารทุกอย่างนี้ของฝ่ายชายต้องพร้อม แล้วจึงยื่นสมัครขอจดทะเบียนสมรส โดยกรอกแบบฟอร์มที่ชื่อ Marriage application และยื่นต่อสถานทูตนอร์เวย์ในไทย ซึ่งในแบบฟอร์มนี้ ทางฝ่ายชายต้องกรอกชื่อพยานรับรู้ขอสมัครแต่งงานครั้งนี้จำนวน 2 คน ซึ่งต้องมีที่อยู่ (ถิ่นพำนัก)ที่ประเทศนอร์เวย์

          หลังจากที่สถานทูตลงลายมือชื่อและประทับตราในใบสมัครของแต่งงานนี้แล้ว คุณจะต้องนำใบนี้ไปแปลเป็นภาษาไทย และรับรองการแปลที่กรมการกงศุล กระทรวงต่างประเทศ แล้วจึงไปจดทะเบียนสมรสที่อำเภอได้

          เพิ่มเติม มีข้อยกเว้น แต่เขาไม่ค่อยเอามาบอกกัน เรื่องการจดทะเบียนหย่า ที่ไม่เกิน 2 ปี ต้องให้ ฝ่ายหญิงรับรอง ถ้าทนายความ ที่ทำเรื่องเอกสาร มีการบันทึก สินสมรส ที่ถูกแบ่งไปแล้ว ก่อนเอกสารหย่าจริงจะออกมา และ ทะเบียนบ้าน ใบซื้อขายบ้าน มีชื่อฝ่ายชายคนเดียว มันไม่ต้องให้ฝ่ายหญิงเซ็นต์ เพราะถือว่า ไม่มีอะไรติดค้างกัน ...เขาจะดูจาก เอกสารประกอบ และ เกี่ยวกับศาล หรือ ระยะเวลา การแยกกันอยู่ รวมถึง ทนายที่บันทึกด้วย




บทความเชื่อมโยง
- จดทะเบียนสมรสที่ไทยแล้ว ต้องขอวีซ่าอะไร?

บทความแนะนำ โดย All about Norway
คลิกที่ลิ๊งด้านล่างได้เลยจ้า 

การเรียนภาษา

การหางาน และ นาฟ

วีซ่า

ความรู้ทั่วไป

รีวิว ที่เที่ยวใน Oslo

lørdag 5. desember 2015

การทำหนังสือเดินทางไทย (สำหรับคนอยู่นอร์เวย์)


หากหนังสือเดินทางใคร เหลือน้อยกว่า 6 เดือนก็ไปทำได้เลยค่ะ

การทำพาสปอร์ตไทย ที่ประเทศนอร์เวย์
เข้าไปจองเวลาในเว็บไซด์ ของสถานทูตไทย
http://www.thaiembassy.no/consular/การทำหนังสือเดินทาง



การเดินทางไปสถานทูตไทย ใน Oslo ประเทศนอร์เวย์



หากภาพเล็กไป สามารถคลิกให้มันใหญ่ได้ค่ะ















เช็คลิสต์
สำหรับอายุ 20 ปีขึ้นไป

o    บัตรประจำตัวประชาชน + สำเนา 1 ชุด ที่ยังไม่หมดอายุ
o    หนังสือเดินทางเล่ม + สำเนาหน้าแรก 1 ชุด
o    สำเนาทะเบียนบ้านไทย
o    อื่นๆ ถ้ามี สำเนาใบเปลี่ยนชื่อและนามสกุล ,  สำเนาทะเบียน สมรสทะเบียนหย่า
o    คำร้องนิติกรณ์เพื่อทำหนังสือเดินทาง เขียนได้ที่สถานทูต

  • เงินสด 300 Nok ถ้วน


ถ้าบัตรประชาชนหาย หรือ หมดอายุต้องทำบัตรใหม่ก่อน ไม่ต้องจองเวลา เข้ามาทำได้เลย จันทร์-ศุกร์ 9.00-12.00 *


  1.    ถ้าบัตรหมดอายุ    สามารถเข้ามาทำบัตรได้  
หรือ ต่อบัตรได้ก่อนบัตรหมดอายุได้ 60 วัน โดยไม่มีค่าธรรมเนียม
          o     นำบัตรใบเดิม พร้อมสำเนา 1 ชุด
2.    กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย ค่าธรรมเนียม 25 kr
          o     เตรียมเอกสารประจำตัว ที่มีภาพถ่ายซึ่งออกโดยหน่วยราชการไทย เช่น หนังสือเดินทาง หรือใบขับขี่ พร้อมสำเนา 1 ชุด
          o     สำเนาทะเบียนบ้าน  1 ชุด

          o     หลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลจากเขต หรืออำเภอ พร้อมสำเนา 1 ชุด

_________________________________________________________________________





สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี

o    สำเนาสูติบัตรไทย
o    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
o    สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์, ของพ่อ และแม่
o    สำเนาทะเบียนสมรสของพ่อและแม่
o    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน+หนังสือเดินทางไทยพ่อและแม่
o    หนังสือเดินทางเล่มเก่า พร้อมถ่ายสำเนาหน้าแรก
o    สำเนาเอกสารแสดงอำนาจการปกครองบุตร (ปค.14) 
o    เอกสารอื่น ๆ ถ้ามี เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล


พ่อแม่ต้องมาลงนามต่อหน้าจนท.ด้วย
*ถ้าพ่อแม่มาไม่ว่าง ต้องทำหนังสือมอบอำนาจและให้ความยินยอม โดยต้องไปลงนามต่อจนท. เขต อำเภอ. หรือกองหนังสือเดินทาง

*ถ้าพ่อแม่อยู่เมืองไทย ต้องทำหนังสือให้ความยินยอม ให้บุตรทำหนังสือเดินทางผ่านกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (กทม.) หรือผ่านที่ว่าการอำเภอ (ต่างจังหวัด)

*ถ้าพ่อแม่จดทะเบียนหย่าแล้ว ให้คนที่มีอำนาจปกครองบุตร เป็นผู้ลงชื่อในหนังสือยินยอมแต่เพียงผู้เดียว พร้อมแสดงหนังสือยืนยันอำนาจในการปกครองบุตร (เอกสาร ป.ค. 14)

*ถ้าพ่อหรือแม่เสียชีวิต ให้นำใบมรณะบัตรมาด้วย


______________________________________________


ส่งกลับทางไปรษณีย์
         หากไม่สะดวกมารับ เตรียมซองกันกระแทก ขนาด 20 * 27 ซม จ่าหน้าซองถึงตัวเอง ลงทะเบียนอย่างน้อย 210 kr มาด้วย

_____________________________________________

การเดินทางไปสถานทูตไทยในนอร์เวย์ Oslo
______________________________________________






บทความแนะนำ โดย All about Norway
คลิกที่ลิ๊งด้านล่างได้เลยจ้า 

การเรียนภาษา

การหางาน และ นาฟ

วีซ่า

ความรู้ทั่วไป

รีวิว ที่เที่ยวใน Oslo