torsdag 1. mai 2014

ความเป็นมา การทำงานแรงงาน ของประเทศนอร์เวย์ในสมัยก่อน

Norge fra 1870....

          ประเทศนอร์เวย์ในอดีต แตกต่างจากปัจจุบันโดยสิ้นเชิง เช่นเป็นประเทศที่จนมากๆ , ผู้หญิงอยู่เบื้องล่าง, การใช้แรงงาน, การอยู่รอดแต่ละวัน, ของกินของใช้มีราคาแพง.... 

ปี 1889 -      พระราชบัญญัติประถมศึกษา ต้องเรียนภาคบังคับให้ครบ  5 ปี  (7 - 12 ปี)

ปี 1959 -      บังคับให้เรียนเพิ่มมากขึ้นเป็น 7 ปี (ปัจจุบันบังคับ ต้องเรียนให้ครบ 10 ปี (6-16 ปี))


***เด็กสามารถทำงานได้ วิ่งไปเรียนบ้าง วิ่งไปทำงานบ้าง หลับในห้องเรียนบ้าง แต่ในตอนนั้นเด็กทำงานได้เป็นสิ่งถูกกฎหมาย และในท้ายสุดของปี 1800 เด็กไม่สามารถทำงานได้แล้ว เพราะเริ่มมีกฎหมายคุ้มครองออกมา


www.ssb.no

ปี 1870 -      31,000 คน ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม

ปี 1915 -      125,000 คน ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม 
***คนทำงานในโรงงานเพิ่มขึ้นๆๆ ทุกปี


www.tidbank.no

ปี 1889 -      มีคนงาน 500 คน ทำงานในโรงงานในโรงงานผลิตไม้ขีด

     - เริ่มทำงานตั้งแต่ 06:00-19:00 น. 
     - ทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ค่าแรงก็แสนน้อยนิด หนักก็หนัก 
     - ถ้าใครทำงานเร็วก็จะได้ค่าแรง 8-10 kr. ต่อสัปดาห์  
     - ถ้าใครทำงานเรื่อยๆ เปื่อยๆ ก็จะได้ 3-4 kr. ต่อสัปดาห์ 
     - ผู้หญิงก็จะมีรายได้น้อยกว่าผู้ชาย 
     - ผู้หญิงต้องเลี้ยงลูก ทำอาหาร ดูแลบ้าน
     - ถ้าใครเข้างานสาย นายจ้างจะไม่อนุญาตให้เข้างาน 
     - ถ้าลูกเกิดป่วยขึ้นมาไปทำงานไม่ได้ ก็อาจจะจะต้องให้ออกงาน
     - อาหารค่อนข้างมีราคาสูงด้วย 
     - พ่อแม่จะให้ลูกกินแต่มันเพราะราคาถูก 
     - ป่วยง่าย เพราะได้รับสารอาหารไม่ครบ

ราคาสินค้า
     มัน 1 kg            ราคา 3-5 øre    (1 kr = 100 øre) 
     ขนมปัง             ราคา 20 øre
     นม 1 ลิตร          ราคา 16 øre
     ไข่ 20 ฟอง        ราคา 1 kr 20 øre
     เบียร์ครึ่งขวด     ราคา 12 øre
     ปลา 1 kg          ราคา 50 øre
     เนย ครึ่ง kg       ราคา 70 øre

โรงงานไม้ขีด ยังมีตึกในปัจจุบันที่ Helsfyr (Oslo) แต่ด้านในได้เปลี่ยนไปในรูปแบบของห้างร้าน สำนักงานต่างๆ ที่สำคัญไม่น่าเชื่อว่าอยู่ข้างๆ โรงเรียนที่เราไปเรียนภาษาเห็นอยู่ทุกวัน แต่ก็ไม่ได้สังเกตอะไร :D
www.entra.no
www.industrimuseum.no

ปี 1925 - 1941 
          มีคนเสียชีวิตเป็นจำนวนมากรวมทั้งเด็กด้วย เพราะว่าทำงานกับฟอสฟอรัสมากเกินไป (โรงงานไม้ขีด)


www.kvinnerifagbevegelsen.no

การนัดหยุดงาน
          เจ้าของโรงงานประกาศตัดค่าจ้าง 20% ทำให้เกิดการนัดหยุดงานในปี 1889 วันที่ 30 ตุลาคม กลุ่มแรงงานได้มีการเดินขบวนไปตามถนน Karl Johans เพื่อเรียกร้องคุณภาพชีวิตการทำงานให้ดีขึ้น และได้มีการประชุมใหญ่กับองค์กรแรงงาน 


http://no.wikipedia.org

Oscar Nissens แกนนำผู้ตกลง ได้โชว์ผู้หญิง 3 คนที่มีความแตกต่างกัน 

     คนแรก เป็นพนักงานใหม่ สุขภาพดีสดใสดูดีเชียว

     คนที่สอง เป็นพนักงานเก่า ที่ใบหน้ามีขากรรไกรโผล่ออกมา และมีใบหน้าบวมอย่างรุนแรง

     คนที่สาม เป็นพนักงานเก่า ได้รับการเสียโฉมกว้างบริเวณใบหน้า

          Oscar Nissens ได้ทำให้การประชุมนั้นช๊อคไปชั่วขณะ "นั่นดูน่ากลัวมาก พวกเค้าไม่ค่อยได้สัมผัสสายตาที่เศร้านี้นัก"  นั่นทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจอย่างมากๆ ในที่ประชุมดังกล่าว


http://vejlewiki.dk/index.php?title=Fil:Fagforening1.jpg

ปี 1905
          เย้!!!  สหภาพแรงงานได้ปรับการทำงาน 10 ชม. ต่อวัน ในปี 1919 ให้เป็น 8 ชม. ต่อวัน และคนทำงานมีสิทธิในเรื่องการเจ็บป่วยด้วย

แปลโดยข้าพเจ้า จากเอกสารอ้างอิงจริงจากครู 


2 kommentarer:

  1. ขอบคุณนักแปลหนูนา และสาระดีๆที่นำมาฝากกันนะครับ Be brave and happy for u !

    SvarSlett
    Svar
    1. ขอบคุณมากๆ ค่ะ :)

      Slett