onsdag 21. februar 2018

ทำบัตรประชาชนไทย ที่นอร์เวย์

        สามารถเข้ามาทำบัตรประชาชน ที่สถานทูตไทยในประเทศนอร์เวย์ได้เลย โดยไม่ต้องจองเวลา วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-12.00 และสามารถรอรับบัตรในวันเดียวกัน




  1.    ถ้าบัตรหมดอายุ    สามารถเข้ามาทำบัตรได้  
หรือ ต่อบัตรได้ก่อนบัตรหมดอายุได้ 60 วัน โดยไม่มีค่าธรรมเนียม
          o     นำบัตรใบเดิม พร้อมสำเนา 1 ชุด


2.    กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย ค่าธรรมเนียม 25 kr
          o     เตรียมเอกสารประจำตัว ที่มีภาพถ่ายซึ่งออกโดยหน่วยราชการไทย เช่น หนังสือเดินทาง หรือใบขับขี่ พร้อมสำเนา 1 ชุด
          o     สำเนาทะเบียนบ้าน  1 ชุด
          o     หลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลจากเขต หรืออำเภอ พร้อมสำเนา 1 ชุด

tirsdag 20. februar 2018

การจองเวลาทำหนังสือเดินทางไทย (คนไทยในนอร์เวย์)


คลิกดู 

วิธีการจองคิวผ่านอินเตอร์เน็ตได้เอง 

ด้านล่างนี้เลยจ้า



สำหรับอายุ 20 ปีขึ้นไป

o    บัตรประจำตัวประชาชน + สำเนา 1 ชุด ที่ยังไม่หมดอายุ
o    หนังสือเดินทางเล่ม + สำเนาหน้าแรก 1 ชุด
o    สำเนาทะเบียนบ้านไทย
o    อื่นๆ ถ้ามี สำเนาใบเปลี่ยนชื่อและนามสกุล ,  สำเนาทะเบียน สมรสทะเบียนหย่า

* ถ้าบัตรประชาชนหาย หรือ หมดอายุต้องทำบัตรใหม่ก่อน

_________________________________________________________________________





สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี

o    สำเนาสูติบัตรไทย
o    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
o    สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์, ของพ่อ และแม่
o    สำเนาทะเบียนสมรสของพ่อและแม่
o    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน+หนังสือเดินทางไทยพ่อและแม่
o    หนังสือเดินทางเล่มเก่า พร้อมถ่ายสำเนาหน้าแรก
o    สำเนาเอกสารแสดงอำนาจการปกครองบุตร (ปค.14) 
o    เอกสารอื่น ๆ ถ้ามี เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล


พ่อแม่ต้องมาลงนามต่อหน้าจนท.ด้วย
*ถ้าพ่อแม่มาไม่ว่าง ต้องทำหนังสือมอบอำนาจและให้ความยินยอม โดยต้องไปลงนามต่อจนท. เขต อำเภอ. หรือกองหนังสือเดินทาง

*ถ้าพ่อแม่อยู่เมืองไทย ต้องทำหนังสือให้ความยินยอม ให้บุตรทำหนังสือเดินทางผ่านกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (กทม.) หรือผ่านที่ว่าการอำเภอ (ต่างจังหวัด)

*ถ้าพ่อแม่จดทะเบียนหย่าแล้ว ให้คนที่มีอำนาจปกครองบุตร เป็นผู้ลงชื่อในหนังสือยินยอมแต่เพียงผู้เดียว พร้อมแสดงหนังสือยืนยันอำนาจในการปกครองบุตร (เอกสาร ป.ค. 14)

*ถ้าพ่อหรือแม่เสียชีวิต ให้นำใบมรณะบัตรมาด้วย


______________________________________________


วิธีการเดินทางไปสถานทูตไทย(ในประเทศนอร์เวย์)

lørdag 10. februar 2018

เปลี่ยนชื่อ-นามสกุลที่ไทย (จดทะเบียนสมรส ตปท.)

แชร์ปสก. การเปลี่ยนชื่อ, เปลี่ยนนามสกุล และดันบัตรประชาชนหมดอายุไปสองปี จึงทำให้งานยากขึ้นไปอีก

โดนจนท.ว่าทำไมปล่อยให้บัตรหมดอายุนาน ว่าเราทำเรื่องยุ่งยากเปลี่ยนชื่อ-สกุลที่ตปท. คือ เราทำให้งานของพวกพี่เค้าเยอะวุ่นขึ้นนั่นเอง คิวหลังเราก็ยาวเป็นหางว่าว....สลดค่ะ 

- ถ้าจดทะเบียนที่ไทย แนะนำให้เปลี่ยนนามสกุล ณ ตอนนั้นเลย
- ถ้าจดทะเบียนที่นอร์เวย์ ก็เช่นกันเปลี่ยนนามสกุล ณ ตอนนั้นซะ


เรื่องมันจะได้ไม่ยุ่งยาก และวุ่นวาย
''ตั้งสติก่อนอ่าน มันอาจจะซับซ้อนนิดนึง''

- เรื่องมันยุ่งยากก็เพราะเราจดทะเบียนที่นอร์เวย์ ไม่ได้เปลี่ยนนามสกุลตามสามี ตอนนั้นขณะเซ็นจดทะเบียน

- สามีเปลี่ยนนามสกุลใหม่ ที่ไม่ได้ตรงกับใบสมรส

- ผ่านไปห้าปี เราเปลี่ยนชื่อและนามสกุล หลังได้สัญชาตินอร์เวย์ และมีพาสฯ นอร์เวย์

(เปลี่ยนชื่อ-สกุลที่นอร์เวย์ง่ายมากๆ แค่ทำเรื่องผ่านอินเตอร์เน็ตไม่กี่นาทีก็เสร็จ)
(เราไม่ได้เปลี่ยนชื่ออินเตอร์อะไร เพียงแต่เอาชื่อเล่นมาเป็นชื่อจริง เพราะมันเรียกง่ายกว่า)

- บัตรประชาชนหมดอายุ แต่ก็ไม่ได้รีบทำจนผ่านไปสองปี มันไม่สามารถค้นชื่อในระบบได้


นี่คือเหตุผลทั้งหมดที่ต้องกลับไปเปลี่ยนที่ไทย

1. ต้องนำ ใบสมรส  (ใบเปลี่ยนนามสกุลของสามี ถ้าสามีเปลี่ยนนามสกุลหลังจดทะเบียน)


แปลจาก  
นอร์เวย์ เป็น อังกฤษ 
และ
''รับรองโดยสถานทูตนอร์เวย์ ในไทย'' 

หลังจากนั้นก็

แปลจาก 
อังกฤษ เป็น ไทย 
และรับรองโดยกระทรวงการต่างประเทศที่หลักสี่

- คุณสามารถทำเรื่องขอเอกสารใบสมรสเป็นภาษาอังกฤษได้หากไม่รีบร้อน แต่เรารีบมาก!! มันจะช่วยประหยัดขั้นตอนและประหยัดเงิน


2. นำเอกสารไปที่เขตที่เราอยู่ อย่างแรกที่เราต้องทำคือ ทำบัตรประชาชนก่อน เพราะบัตรเก่าหมดอายุ ถึงแม้จะเป็นชื่อ-สกุลเก่าก็ตาม โดนปรับ 100 บาท

3. นำบัตรประชาชนใหม่ไปยื่นติดต่อ ฝ่ายทะเบียนทั่วไป บอกจนท.ว่ามาเปลี่ยน ชื่อและนามสกุลตามสามี
3.1 หาพยานไปด้วย 2 คน
3.2 นำสามีไปด้วย + หนังสือเดินทางตัวจริงของสามี
3.3 นำเอกสารที่แปลไปถ่ายเอกสาร 5 ชุด หน้าหลัง
3.4 ทะเบียนบ้านตัวจริง

-จนท.ไล่ให้ไปหาพยานมาให้ครบ และพยานต้องอยู่จนกว่าจะเสร็จ
-ถ้าสามีไม่ไปด้วย ต้องทำหนังสืออนุญาตให้เราใช้นามสกุลเค้าก่อน แล้วก็ต้องไปแปลตามขั้นตอน บลาๆ
-ถ่ายสำเนารอไว้เลย จะได้ไม่ต้องวิ่งวุ่น


4. นั่งรอ ตอบคำถามจนท. เพราะบางเอกสารถึงจะแปลแล้ว แต่จนท.ต้องเขียนบันทึกให้ถูกต้อง เราก็อธิบายช่วยเค้านิดนึง


5. เสร็จแล้วเราก็จะได้ ใบเปลี่ยนชื่อ, ใบเปลี่ยนนามสกุล และใบจดทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว คร.22



- ใบจดทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว คร.22 คือ เอกสารแสดงว่า เราจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ และมีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ จดทะเบียนเมื่อไหร่ ที่ไหน การเปลี่ยนนามสกุลของฝ่ายชาย การขอเปลี่ยนนามสกุลของฝ่ายหญิงตามฝ่ายชาย และเรื่องเราขอใช้ นาง นำหน้า

- ค่าเปลี่ยนชื่อ 50 บาท , ค่าใบคร.22 อีก 50 บาท


6. ทำบัตรประชาชนใหม่ เขียนใบคำร้อง กดบัตรคิว และเสียค่าธรรมเนียมทำบัตรอีก 100 บาท

          สรุปคชจ.ที่เขต จ่ายไป 300 บาท, ค่าจ้างพยาน 200 บาท, ค่าถ่ายเอกสารที่เขตประมาณ 100 บาท เอกสารเหมือนไม่เยอะ แต่มีถ่ายหน้าหลังด้วย ถ่ายเกินอีก ค่ารถอีก บานเลยค่ะ อยู่กทม. รถติดกว่าจะเข้ามาเขตแถวบ้านได้ใช้เวลาเกือบสองชั่วโมง

          ใช้เวลาทั้งหมดที่เขต 3.5 ชั่วโมง กว่าทุกอย่างจะเสร็จ และวันที่เราไปเขต เราไปตั้งแต่ 9 โมงครึ่งแต่ระบบดันล่มก่อนหน้าเราไม่กี่วินาที เราก็ต้องนั่งรอๆๆๆๆ จนระบบกลับมาใช้ได้ช่วยบ่าย พอเสร็จเรียบร้อยก็โล่งขึ้นเลยค่ะ ^_^


____________________________________________________

เบื้องหลัง
กว่าจะหาร้านแปลได้ แทบขาดใจ :D
          จากที่เราเขียน อ่านดูแล้วเหมือนง่าย แต่กว่าเราจะหาคนแปลเอกสารในไทยให้เราได้ เราเครียดมาก เราพักแถวราชดำริ ดังนั้น เราอยากได้บริษัทแปลแถวระแวกในเมือง ใกล้กับสถานทูตนอร์เวย์ เริ่มเดินทางหาร้านแปลตั้งเช็คอินโรงแรมเลยค่ะ พอไปบริษัทนึงอยู่ต้องรถไฟฟ้าช่องนนทรี พนง.เถียงเราว่า เราต้องไปรับรองที่สถานทูตนอร์เวย์ก่อน แต่เราบอกว่า เธอต้องต้องแปลเป็นอังกฤษก่อน แล้วค่อยรับรอง เถียงอยู่สักพัก เราก็กลับโรงแรมมาหาข้อมูลใหม่ หาบริษัทแปลใหม่

แปลแล้วและรับรองโดยสถานทูตนอร์เวย์ และกระทรวงการตปท.

         หลายคนแนะนำเราให้ไปแปลแถวกระทรวงการต่างประเทศ แต่เราไม่ไป เพราะไม่สะดวกเดินทาง วิ่งไปส่ง วิ่งไปรับ วิ่งต่อไปสถานทูตนอร์เวย์ วิ่งกลับไปแปลเป็นไทยที่กระทรวงการตปท. วิ่งไปรับอีก คือ...ไม่เอาอะ รถติดจนขยาด เราเลยเลือกวิธีของเราเองนี่แหละ

         ส่งอีเมลล์ไปถามหลายเจ้า บางเจ้าเราตกลงจะทำ เค้าก็ไม่ทำกับเรา บางเจ้าถามวันนี้ ตอบพรุ่งนี้ คือเรารอไม่ได้ เราอยู่ไทยแค่ 2 อาทิตย์ และเราต้องใช้เอกสารด่วนที่นอร์เวย์ ก็ติดต่อเยอะเลยตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง บ่ายสามบ่ายสี่ได้ เครียดมมากหัวแทบระเบิด

          จนมีบริษัทนึง กระตือรือร้นกับลูกค้า บริษัทนี้อยู่ใกล้สถานทูตมากๆ ตามที่เราแพลนไว้ เราพูดคุยกันในไลน์ ตกลงกัน พี่เค้าขับมอร์ไซค์มารับเอกสารจาก เพลินจิต มา ราชดำริ ค่าบริการ 150 บาท พี่เค้าทำให้ทุกอย่าง แปล นอร์เวย์ เป็น อังกฤษ และไปรับรองที่สถานทูตนอร์เวย์ เสร็จ ก็แปลจาก อังกฤษ เป็น ไทย และไปรับรองที่กระทรวงการตปท. จ้างพี่เค้าไปทำ 3 แผ่น เนื้อหาไม่มาก ราคา 10,700 บาท 
พี่เค้าแจกแจงคชจ.มาให้ในไลน์


        ราคารับได้นะ เรามาพักผ่อน ไม่อยากวิ่งเอกสารเอง มาแค่ไม่กี่วัน ปกติเป็นคนงกนะ ค่าที่พี่เค้าขับรถมารับเอกสาร- ส่งเอกสาร รอบละ 150 บาท การดำเนินการใช้เวลาหนึ่งอาทิตย์นิดๆ.....แต่บอกเลยว่า บริษัทอื่นแพงกว่านี้อีก เพราะเราเช็คหลายที่ ว่าที่ไหนราคารับได้ และที่นี่พี่เค้าคุยดีมาก บริการดี เป็นมิตรด้วย (.โกอิ้งทัวร์ หากสนใจบริษัทนี้ ลองเซิสกูเกิ้ลหาเบอร์ติดต่อดูนะคะ)


ไม่ได้ค่าโฆษณาใดๆ ใครทำดี เราบอกต่อ 
ใครทำไม่ดี เราประจานเละ ฮ่าๆๆ


           หากใคร อยากไปรับรองเอกสารที่สถานทูตนอร์เวย์ ในประเทศไทยด้วยตัวเอง สามารถเดินว๊อคอินเข้ามาได้เลย
วันจันทร์ – วันศุกร์ (ยกเว้นวันพุธ)
9.00 – 12.00 / 13.00 – 16.00 

ตึก UBC II  ชั้น18
591 ถนนสุขุมวิท ซอย 33
กรุงเทพฯ 10110
Thailand


(BTS Phrom Phong)

จากปสก.ทั้งหมด