søndag 18. august 2019

แนวทางการหางานทำที่ประเทศนอร์เวย์ สำหรับคนอยู่ไทย และคนอยู่นอร์เวย์

การหางานทำที่ประเทศนอร์เวย์ ขอแบ่งออกเป็น 2 ประเภทนะคะ
1. สำหรับคนที่อาศัยอยู่เมืองไทย แล้วอยากมาทำงานที่นอร์เวย์
2. สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในประเทศนอร์เวย์อย่างถูกกฎหมาย ถูกวีซ่า





ได้รับข้อความคำถามเยอะมากๆ ว่า '' อาศัยอยู่เมืองไทย แต่อยากมาทำงานที่นอร์เวย์จังเลย ทำอย่างไร? '' วันนี้ก็เลยจะมาบอกให้ฟังค่ะ

          เข้าใจนะคะว่า  หลายคน...อยากออกไปทำงานต่างประเทศ งานอะไรก็ได้ ขอให้ได้เงิน แล้วส่งกลับไปเมืองไทย และหลายคน ก็ไม่แคร์ด้วยซ้ำว่า จะเป็นงานที่ถูกหรือผิดกฎหมาย ซึ่งหากใครจะไปทำงานที่ตปท.แบบผิดกฎหมาย เช่น ผิดวีซ่า หนีวีซ่า หรือทำงานที่ผิดกฎหมาย ก็ไม่ต้องมานะคะ ถูกจับแล้วมันเสียชื่อประเทศไทยมาก แล้วตัวคุณก็เสียประวัติด้วย 

          การหางานทำที่ประเทศนอร์เวย์นั้น มันไม่ง่ายนะจ๊ะ มันยากเย็นแสนเข็ญมากค่ะ ขนาดคนนอร์เวย์แท้ๆ ภาษาเป๊ะๆ ยังตกงานกันทั้งนั้น แล้วไหนจะกลุ่มประเทศ EEA (กลุ่มเศรษฐกิจยุโรป) ที่เดินทางเข้ามา หางานทำที่นอร์เวย์ได้แสนง่ายกว่าคนไทย  แล้วไหนจะกลุ่มคนลี้ภัยที่เข้ามาอาศัยในนอร์เวย์อีก ก็เข้ามาแย่งงานกันเต็มไปหมด คือ การแข่งขันมันสูงมาก!!  คนเยอะกว่างาน!! งานประจำได้ยาก!!

แล้วถามว่า คนไทยจะเข้ามาทำงานที่นอร์เวย์ได้ไหม?
          ตอบว่า.....ได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับทักษะวิชาชีพที่จบมา  เช่น หมอ พยาบาล วิศวกรฯ ไอที  เป็นต้น หรือ......จะทำงานเก็บผลไม้ช่วงหน้าร้อนก็เป็นไปได้ค่ะ

          แต่...ความเป็นไปได้นั้นมันไม่ง่ายอย่างที่คุณคิด เพราะนายจ้างที่นอร์เวย์ เค้านิยมจ้างคนที่อาศัยอยู่นอร์เวย์เลยมันจะง่ายกว่า ไม่ต้องยุ่งวุ่นวายเรื่องเอกสาร ไหนจะต้องทำเรื่องขอวีซ่าบลาๆๆๆ ยุ่งค่ะ เสียเวลาด้วย


        นี่คือรายละเอียดวีซ่า สำหรับคนไทยจะเข้ามาทำงานในประเทศนอร์เวย์ https://www.udi.no/en/want-to-apply/work-immigration/?c=tha

          หากคุณต้องการเดินทางมานอร์เวย์เพื่อทำงาน คุณต้องมีใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ก่อน ตามปกติแล้วคุณจะต้องได้งานก่อน ใบอนุญาตมีถิ่นพำนักที่คุณควรสมัครนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของคุณและประเภทของงานที่คุณจะทำในนอร์เวย์


เตรียมรับสิ่งที่แตกต่างจากเมืองไทย
ค่าใช้จ่าย
แต่อย่าลืมนะคะว่า วีซ่า ค่าครองชีพ อาหาร ที่พัก ค่ารถ และ การจ่ายภาษีที่นี่แพงๆๆๆๆๆๆๆๆ มาก

อากาศหนาว
ไหนจะต้องมาเผชิญกับภัยหนาว ในหนึ่งปี หนาวอยู่ 10 เดือน แต่ถ้าชอบหนาวก็แล้วแต่ค่ะ  บอกให้ฟังเฉยๆ

ภาษา
นอร์เวย์มีภาษาเป็นชองตัวเอง บอกเลยว่ายาก ถ้าเป็นคนต่างชาติ(คนไทย)เข้ามาทำงานที่นอร์เวย์ ก็พูดภาษาอังกฤษได้ แต่ถ้าจะให้ดี พูดภาษานอร์เวย์จะดีกว่า ถ้าทำงานในบริษัทคนนอร์เวย์

วัฒนธรรม
ไม่ต้องมางอน เพราะไม่รู้ว่างอนคืออะไร, ถ้ามีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ไม่ชอบอะไรก็ต้องพูด ต้องเคลียให้จบ, มีความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและชาย,  รักร่วมเพศแต่งงานกันได้ เดินจับมือ จู๊จี๊กันได้ตามปกติ, ใช้เท้าชี้ของได้, รถหยุดให้ข้าม ตรงทางม้าลาย, สามารถแสดงความคิดเห็นได้ เป็นต้น

ข้อมูลการหางานที่นอร์เวย์ ลองอ่านดูนะคะ
 https://www.nav.no/en/Home/Work+and+stay+in+Norway/Work+in+Norway

ดูตำแหน่งงาน
https://arbeidsplassen.nav.no/stillinger



มาดูเคสที่มีความเป็นไปได้กันดีกว่า อันนี้เล่าจากเคสจริงนะคะ

เคส 1
นายเอ เรียนจบวิศวฯ มา นายเอทำงานอยู่ที่เมืองไทย และบริษัทนี้มีสาขาอยู่ที่นอร์เวย์ด้วย จังหวะที่นอร์เวย์ขาดคน และนายเอได้มีโอกาสไปดูงาน นายเอก็ฟลุ๊คได้งานที่นอร์เวย์ทำค่าาาา
(เรื่องนี้ก็เกือบสิบปีมาแล้ว สมัยก่อน บอกเลยว่าหางานง่ายกว่าสมัยนี้เยอะ!!)

เคส 2
นางบี เรียนจบพยาบาล และทำงานเป็นพยาบาลอยู่เมืองไทยก็หลายปี โชคดีที่ได้มีโอกาสติดต่อกับหมอคนนอร์เวย์นายหนึ่ง คุณหมอคนนี้เค้าก็คุยกับพยาบาลไทยถูกคอ คุณหมอเลยทำเอกสาร ทำวีซ่าให้นางพยาบาลคนนี้ ย้ายมาทำคลินิกที่นอร์เวย์ (เรื่องนี้ก็สี่ห้าปีได้)

เคส 3
นางซี มีหลานสาวซึ่งได้แต่งงานอยู่กินกับคนนอร์เวย์ ผู้คนนี้ มีสวนสตอร์เบอร์รี่ เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว หลานสาวคนนี้ ก็ถามนางซี ,ถามญาติพี่น้อง ,ถามคนในหมู่บ้านที่เมืองไทย ชักชวนกันมาทำงานเก็บสตอร์เบอร์รี่ในช่วงฤดูร้อนสั้นๆ (หลานกับสามีหลานก็ยังทำเอกสาร ทำวีซ่า ให้ญาติๆ มาเก็บสตอเบอร์รี่กันอยู่ทุกปี)

เคส 4
นายดี มาเรียนต่อป.โท สาขาไอที เรียนจบ ก็ได้ทำงานต่อเลยจ้า (เรียนจบภาคอังกฤษ บริษัทที่เค้าทำงานด้วย ก็เป็นแบบอินเตอร์เนชันนาล พูดภาษาอังกฤษที่ทำงานได้)

เคส 5
ถ้าใครอายุยังไม่เกิน 30 ปี ก็ลองทำออแพร์ดูนะ มาเลี้ยงเด็ก มาทำงานบ้าน รายละเอียดยังไงก็หากูเกิ้ลเองนะจ๊ะ  แต่จะเล่าให้ฟังว่า ออแพร์ที่นอร์เวย์ก็เป็นข่าวพอสมควรว่า ไม่น่าเชื่อว่าประเทศนอร์เวย์นี่ มีครอบครัวที่เอาเปรียบออแพร์อยู่หลายบ้าน ใช้ทำงานเกินเวลา ไม่จ่ายโอที ไรงี๊ เคยออกข่าว และก็เคยมีน้องที่รู้จักมาบ่นให้ฟังด้วย

เคส 6
บางคนอยากไปทำงานต่างประเทศ เลยหาแฟนเป็นคนต่างชาติซะเลย อันนี้ก็ได้ค่ะ แต่การหาคนดีๆ นั้นมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนะ คนดีก็มี แต่คนไม่ดีก็มีมาก ก่อนที่จะตัดสินใจแต่งงานและย้ายตามกันมานั้น ต้องศึกษาให้แน่นอนว่าอีกฝ่ายมีจิตใจอย่างไร เพราะมันมีกรณีมากมายเลยค่ะ เช่น การทำร้ายร่างกาย ด่าทอทำร้ายจิตใจ บ้างยึดพาสปอร์ต หลอกให้มาเป็นทาส บ้างมีหลายเมีย หรือร้ายแรงกว่านั้นก็ฆ่ากันตายก็มี สาวไทยโดนมาแล้ว ออกข่าวดังด้วยค่ะ

อันนี้เตือนสตินะคะว่า อย่าเห็นว่าเค้าเป็นฝรั่งแล้วต้องมีเงินเยอะ ก็เลยอยากแต่งงานกับเค้า ยกตัวอย่างนะ คนนอร์เวย์หลายคน ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล เนื่องจาก ป่วย, ตกงาน แล้วเค้าก็นำเงินนี้ไปเที่ยวเมืองไทย ไปอยู่นานๆ เปสาวบ้างไรงี๊ เห็นมาเยอะ แต่คนที่ทำงานมีรายได้ก็มี ทุกอย่างมันมีสองด้านเสมอนะคะ

เมื่อคนไทยแต่งงาน แล้วย้ายมาอยู่นอร์เวย์ ก็ต้องไปโรงเรียนเพื่อเรียนภาษานอร์เวย์ และต้องสอบให้ผ่านตามข้อกำหนด เหมือนย้ายชีวิตมาเริ่มใหม่ เริ่มนับจาก 0 ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร จบสูงแค่ไหนก็เหอะ ส่วนใหญ่งานแรกทีเริ่มทำของคนที่เพิ่งย้ายมา คือ งานทำความสะอาด

แล้วเมื่ออยู่นอร์เวย์อย่างน้อย 3 ปี จึงทำเรื่องขอวีซ่าถาวรได้ แต่เขาหรือเธอ จะต้องมีงานประจำ มีรายได้เป็นของตัวเอง อย่างน้อย 242,966 kroner ต่อปี ก่อนหักภาษี แต่ถ้าได้น้อยกว่านั้นก็เคสบายเคสค่ะ ติดต่อกับจนท.เอง  และต้องไม่มีคดีติดตัว, ต้องสอบผ่านวิชาสังคมของนอร์เวย์ และต้องสอบผ่านภาษาอย่างน้อยระดับ A2 ทั้งเขียนและพูด จึงจะขอวีซ่าถาวรได้ https://www.udi.no/en/want-to-apply

เคส 7
หลายคนอ่านมาตั้งแต่เคส 1 - 6 แล้ว ไม่เข้าทางของตัวเองเลย ก็ไม่ต้องใช้วิชามารขอวีซ่าท่องเที่ยว แล้วแอบเข้ามาทำงานนะคะ มันผิดกฎหมายบอกเลย แถมบางคนแอบมาขายบริการด้วย อนาคตดับวูบเลยนะคะ ไหนจะถูกปรับ ถูกขัง ถูกแบนไม่ให้เข้าประเทศด้วย

แล้วนายจ้างคนไทยนี่แหละตัวดีเลย ชอบเอาเปรียบคนไทยด้วยกัน ใช้อย่างทาส จ่ายเงินอย่างทาส ทำงานเกิน 8 ชม.ต่อวัน คือโดนหลอกให้มา ตอนแรกก็พูดชักชวนอย่างดี ว่าจะได้เงินเยอะอย่างนั้นอย่างนี้ แต่พอถึงเวลาจริง ก็ไม่เป็นอย่างที่พูดสักอย่าง

มันก็มีเคสจริงๆ นะคะ เยอะด้วย ที่กล่าวมา มาผิดประเภทวีซ่า แอบมาทำงาน รับเงินดำ ไม่เคยจ่ายภาษี แถมอยู่เกินวีซ่าไปหลายปี ก็คือคนเถื่อนอะ พออยู่ไปอยู่มา มีปัญหากับนายจ้าง หรือนายจ้างเกิดเบื่อก็หาเรื่องไล่กลับเมืองไทย ที่นี่ ปัญหาก็ตามมาเพียบเลยค่ะ เช่น ไม่มีเงินซื้อตั๋วกลับไทย ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะตัวเองก็เป็นคนเถื่อน จะออกประเทศก็ต้องโดนตม.กักตัว จะแจ้งตำรวจตัวเองก็ผิดอยู่ดี ผิดทั้งขึ้นทั้งร่อง

ที่เล่ามานะคะ อยากจะให้เพื่อนๆ นำมาเป็นอุทาหรณ์ ที่จะทำอะไรสักอย่างต้องใช้สมองและสติคิดให้เยอะๆ เคารพกฎของแต่ละประเทศและใช้อย่างเคร่งครัด อย่าเป็นคนนิสัยซิกแซก ไม่ซื่อสัตย์ ต่อตนเองและผู้อื่น เมื่อเราทำสิ่งดีๆ สิ่งดีๆ ก็จะกลับเข้ามาตัวคุณเองนะคะ


____________________________________________________________



สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในประเทศนอร์เวย์อย่างถูกกฎหมาย ถูกวีซ่า



สามารถหางานทำได้โดย
1. การ Walk in คือ การเดินเข้าไปขอสมัครงาน เช่น ร้านอาหารไทย, ร้านขายของชำเวียดนาม, หรือ งานทำความสะอาดโรงแรม ที่สำคัญควรมี CV  ติดมือไปด้วย 

คนที่ยังไม่ได้ภาษา ส่วนใหญ่ก็จะทำงาน ร้านอาหารไทย, ร้านขายของชำเวียดนาม, หรือ งานทำความสะอาดโรงแรม ซะส่วนใหญ่  (ทำความสะอาดโรงแรมอย่างน้อยควรได้ภาษาอังกฤษ)

2. การส่งอีเมลล์  มีเพื่อนหลายคนใช้วิธีนี้ ในการสมัครงานทำความสะอาดโรงแรม แล้วได้งาน สามารถส่ง CV เป็นภาษาอังกฤษได้ งานที่ได้จะไม่ได้เป็นงานประจำร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยปกติแล้วจะเริ่มต้นเป็นพวกเอ็กตร้า หรือ ถ้าเค้าต้องการคนก็จะโทรหา

3. หาสมัครตามเว็บไซค์ เช่น 



4. บริษัทนายหน้าจัดหางาน เช่น https://www.manpower.no  ,   https://www.adecco.no   ,   https://www.personalhuset.no   เป็นต้น

5. ถ้าได้ภาษาอย่างน้อย ระดับ B1 ให้ลงทะเบียนคนว่างงานใน  nav.no  และพูดคุยกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอคอร์สเรียน เช่น คอร์สทำงานงานในโรงอาหาร, คอร์สทำงานในโรงเรียนอนุบาล, คอร์สทำงานดูแลคนแก่, คอร์สทำงานร้านกาแฟ เป็นต้น  หลังจากเราได้คอร์สแล้ว ก็เรียนทฤษฎี เสร็จแล้วจะมีการฝึกงาน 2-3 เดือน แล้วแต่คอร์ส   

ในช่วงการฝึกงาน  ถ้าเราอยากได้งานทำ เราต้องโชว์ฝีมือให้เต็มที่ให้เพื่อนร่วมงาน และนายจ้างได้เห็น อันนี้แหละ เป็นเปอร์เซ็นต์ที่ได้งานสูงมากๆ  ได้งานสูงกว่าการส่งใบสมัครเองไปตามเว็บไซค์เสียอีก

*ปล. ถ้าภาษาอยู่ระดับต่ำกว่า B1 นาฟ (Nav) จะไม่ช่วยเหลือ เค้าจะเน้นให้เราเรียนภาษาให้ได้เกณฑ์ก่อน แต่ก็มีหลายเคส แล้วแต่จนท.นาฟ ต้องไปคุยเอง 

และนี่ก็คือแนวทาง ในการหางานทำที่ประเทศนอร์เวย์นะคะ 
ไปเลือกใช้ตามสะดวกค่ะ

mandag 22. juli 2019

ถือสองสัญชาติ เดินทางเข้า-ออก ประเทศอย่างไร?

สำหรับผู้มีหนังสือเดินทางสองสัญชาติ 
ไทย - นอร์เวย์




หาก ตม.เป็น คนไทย ยื่นพาสฯ ไทย
(อธิบายง่ายๆ คือ เรายืนอยู่ที่ประเทศไหน ก็ยื่นพาสปอร์ตประเทศ นั้น)





หาก ตม.เป็น คนนอร์เวย์ ยื่นพาสฯ นอร์เวย์



______________________________________________________________________

แต่ถ้าโดนตม.สอบสวน ก็ตัวใครตัวมันนะจ๊ะ ต้องอธิบายเอง
เพราะมันมีกรณี บางคนผ่านฉลุย บางคนเจอปัญหา
เจ้าหน้าที่แต่ละคนไม่เหมือนกัน
โปรดใช้วิจารณญาณ
ในการใช้พาสปอร์ต 2 เล่ม เข้า-ออก ประเทศ
______________________________________________________________________





          ส่วนตัวเราเอง ใช้หนังสือเดินทางนอร์เวย์ เดินทางเข้าออกไทย เท่านั้น!! เพราะชอบทำตามกฎระเบียบ และที่ถูกต้องที่สุด แต่สำหรับคนจะไปอยู่เมืองไทยเกิน 30 วัน ต้องขอวีซ่าด้วยนะคะ ตามกฎของการถือหนังสือเดินทางนอร์เวย์

Oslo ศาลาว่าการ - Rådhuset


ศาลากลางจังหวัด ใช้สำหรับจัดกิจกรรมขนาดใหญ่รวมถึง 
รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ
The City Hall is used for larger events, including the award of the Nobel Peace Prize.  


ศาลากลางกรุงออสโล ถูกสร้างขึ้นในปี 1931–50

หลังจากภาพวาดของสถาปนิก Arnstein Arneberg และ Magnus Poulsson

The City Hall was built 1931–50 after drawings

by the architects Arnstein Arneberg and Magnus Poulsson.




เข้าทางนี้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ 
This entrance is free of charge.


ห้องโถงชั้น 1 ที่ Rådhuset ปกติเข้าฟรีได้ทุกวัน 
ไม่ต้องมีไกด์ ไม่ต้องมีคิว
แต่ช่วงนี้ซัมเมอร์นักท่องเที่ยวเยอะ เค้าจึงทำให้เป็นระบบสักหน่อย
Usually it is free entrance, and the City Hall is open during the day.
But check www.oslo.kommune.no/politikk-og-administrasjon/radhuset/ just in case.




ชั้น 2 ไม่ได้เปิดทุกวัน เช็คข้อมูลหน้าเว็บก่อนมานะจ๊

2nd floor, not open every day. 
Check the page information before coming.

ห้องโถง 
Rådhushallen

ภาพวาดสีน้ำมันโดย Henrik Sørensen เกี่ยวกับ ผู้คน, งาน, ปาร์ตี้ แสดงให้เห็นชีวิตที่มีชีวิตชีวา และสีสัน
Henrik Sørensen's oil painting about colorful life and labor.


ภาพวาดของ Alf Rolfsens เกี่ยวกับช่วงเวลาการยึดครองเริ่มตั้งแต่ปี 1940 - 1945
Alf Rolfsens สูญเสียลูกชายในช่วงสงคราม

Alf Rolfsen's depiction of the occupation period which dated from 1940 to 1945.
Rolfsen himself lost a son during the war.

 ภาพวาด Alf Rolfsen เกี่ยวกับ 'คนทำงาน'
Alf Rolfsen's drawings about "workers"





 Harald Hårdråde เป็นกษัตริย์ของนอร์เวย์ตอนปี 1046 
 พรมทอมือนี้
แสดงถึงท่านได้ผ่านประตูของออสโลพร้อมเอกสารการก่อตั้งในมือของเขาด้วย และการต่อสู้ที่ Stamford Bridge ที่อังกฤษ 
ท่านได้เสียชีวิตลงปี 1066

The Harald Hårdråde room
Harald Hårdråde was the king of Norway in 1046. 
This hand-woven carpet
represents Hårdråde riding through the city gates of Oslo, holding the founding documentsin his hand. It also shows the battle at Stamford Bridge in England. He died in 1066.
ภาพวาดขนาดใหญ่โดย Edvard Munch หัวข้อ "Life" ในปี 1910
 A large painting by Edvard Munch, titled "Life" painted in 1910

ห้องจัดเลี้ยง และห้องต้อนรับ ที่เล็กที่สุดของศาลาว่าการ
ซึ่งตั้งชื่อตาม Edvard Munch
The Munch room is The City Hall's smallest room for receptions,
lunches and dinners. , named after Edvard Munch.


 ใช้สำหรับรับรองแขก การตกแต่งได้แรงบันดาลใจจากออสโลและ
ประวัติศาสตร์นอร์เวย์ และอุตสาหกรรมที่สำคัญเช่น การตกปลา เกษตรกรรม การเดินเรือ และการค้า

Used for receptions. The decoration was inspired by Oslo and
Norwegian history, and important industries such as fishing, agriculture and seafaring. 




This is a picture of
King Håkon VII (1948), King Olav V (1983),
King Harald V (2000) and Queen Sonja (2002)
 ใช้เป็นห้องต้อนรับ และจัดเลี้ยงขนาดใหญ่ 
สำหรับอาหารกลางวัน และอาหารเย็น
Used for larger receptions, lunches and dinners. 


ห้อง Krohg ''Byen og dens oppland'' 
เป็นชื่อการตกแต่งของ Per Krohg  
The Krohg Room. ''Byen og dens oppland'' is the name of the decoration of Per Krohg
 พรม เป็นสัญลักษณ์ของศักดิ์ศรี และความเคารพ
The carpet is a symbol of dignity and respect.

 ศาลาว่าการเมืองเป็นเวทีการเมืองเปิดที่ประชาชนสามารถเข้าร่วมการเจรจาในสภาเทศบาลเมือง

The City Hall is an open political arena where the public
can attend negotiations by the City Council 


 ภาพเขียนบนผนังแสดงให้เห็นว่าสิทธิมนุษยชน 
และคบเพลิงแห่งอิสรภาพ
เกิดจากการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 
ถึงรัฐธรรมนูญของนอร์เวย์ในปี 1814

The murals show how human rights 
and the torch of freedom are borne
from the French Revolution in 1789 to 
Norway's constitution in 1814

ของขวัญจากกษัตริย์ไทย ร.9
The gift from Thai King 9



สวนด้านข้างของศาลาว่าการ 
Garden next to The City Hall





จบจ้า




Oslo สวนหิน - Frognerparken & Vigelandsparken



ถ้ามีโอกาสได้แวะมาออสโล ต้องมาที่สวนนี้ ที่สำคัญ เข้าฟรีจ้า
If you are coming to Oslo, you must come here. Entrance is free!

Vigelandsparken เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดของนอร์เวย์
Vigelandsparken Is one of Norway's most visited tourist attractions

มีนักท่องเที่ยว เข้ามาเที่ยวชมมากกว่าล้านคนทุกปี
There are over a million visitors every year.


          วิธีการเดินทางมาสวนหินนี้ จะนั่งรถราง หรือ รถไฟใต้ดิน มาก็ได้ ข้อดีของการนั่งรถรางคือ ไม่ต้องเดินไกล

          ขอแนะนำการเดินทางโดยรถราง 
ขึ้นรถรางเบอร์ 12 Majorstuen ตรง Jernbanetorget ที่สถานีจะเขียนตัวอักษร B อยู่ด้านบน
Tram number 12 Majorstuen at Jernbanetorget , from the plattform with the letter B

ลงป้าย get off at Vigelandsparken ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที


ผู้ออกแบบและสร้างสวนหิน 
Gustav Vigeland
(1869–1943) 


เป็นสวนที่ใหญ่ที่สุดในออสโล
The largest garden in Oslo


 สวนประติมากรรมหินแกรนิตใน Frognerparken มีประติมากรรมกว่า 200 รูป
Granite Sculpture Park in Frognerparken. There are more than 200 sculptures

สะพานหินแกรนิต ยาว 100 เมตร
The bridge is granite and 100 meters long.

เด็กตัวเล็กก็โกรธเป็นนี่ มีชื่อเสียงที่สุด
The small angry boy is the most popular sculpture here


ประติมากรรมสำริดจำนวน 58 ชิ้นบนราวบันได
It is adorned with lanterns and a total of 58 bronze sculptures on the railing.




ประติมากรรมรูปปั้นมนุษย์ ต้นไม้ น้ำ ธรรมชาติที่ต้องพิ่งพาอาศัยกัน
Human statues, trees, natural water combined together




The Monolith
สร้างโดยหินหนึ่งแท่ง ใช้เวลานานถึง 14 ปี ถึงเสร็จ

มีคนปีนป่ายอยู่รอบๆ เสากันมากมาย และยอดบนสุดเป็นเด็ก
There are many people climbing around the pole and on the top is a child


เหมือนว่า ผู้ใหญ่ผลักดันเด็กรุ่นใหม่ ขึ้นไปจุดดีงามที่สูงสุด
As if the adults pushes a new generation of children up to the highest point





ไกลๆ โน๊น
The Wheel of Life are over there.






สวน Frognerparken 





ถ้าจะนั่งรถไฟกลับเข้าเมืองเดินตามแผนที่เลยนะ

สถานี Majorstuen Station นั่งเข้าเมืองได้จ้า