mandag 7. desember 2015

การจดทะเบียนสมรส กับ ''ชาวนอร์เวย์'' ที่ไทย

กรุณาติดต่ออำเภอก่อนว่า ทางอำเภอต้องการเอกสารอะไรบ้าง เพราะแต่ละอำเภอ ใช้เอกสารต่างกัน
และติดต่อ UDI.No เพื่อความชัวร์



ขอบคุณ Khunnuu และ คุณ เสาวณี 

สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ขออนุญาตรวบรวมไว้ที่นี่นะคะ



สำหรับคนที่ต้องการแต่งงานที่ประเทศไทย



          จดทะเบียนสมรสกับชาวนอร์เวย์ที่ไทย ต้องให้ฝ่ายชายว่าที่สามี อ่านเอกสารทั้งหมด และ ทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด ที่เวปไซต์นี้ค่ะ http://www.emb-norway.or.th/…/bista…/Ekteskap/thaiekteskap/…

          ทางแฟนของคุณจะต้องติดต่อกับ skattekontoret ที่นอร์เวย์ เพื่อขอ เอกสารต่างๆ ต่อไปนี้

1. "Certificate of no Impediment to Marriage" (på norsk "Attest til bruk for ekteskapsinngåelse etter utenlandsk rett" tidl. kalt "Ekteskapsattest คือ ใบรับรองสถานภาพความเป็นโสดของแฟนคุณ ใบนี้ ทางไทยเราเป็นฝ่ายบังคับให้มี เพื่อรับรองว่าผู้ชายโสดจริงๆ(เค้าออกเป็นภาษาอังกฤษให้ได้) 

2. Erklæring fra brudefolkene før prøving av ekteskapsvilkårene for den part som er bosatt i Norge (registrert i Folkeregisteret) คือ ใบที่ทางฝ่ายชายจะต้องชี้แจงรายละเอียดส่วนตัวว่า เค้าเคยแต่งงานมากี่ครั้งอย่างไร และทางเราคือ ภรรยาไทย ต้องเซ็นต์รับทราบในใบนี้ด้วย ว่ารับรู้ว่าเค้าเคยแต่งงานมาก่อน และมีลูกมาก่อน รวมถึงทางฝ่ายชายจะต้องแจ้งให้ทราบในใบนี้ด้วยว่าเค้าเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือไม่ ถ้าเป็น ทางคุณก็จะต้องเซ็นต์รับทราบตรงนี้ด้วยว่า รับรู้ว่าเค้ามีโรคติดต่อร้ายแรง

3. Forlovererklæring ใบนี้คือ เพื่อนเจ้าบ่าว (หญิงหรือชายก็ได้) เซ็นต์เป็นพยานรับรู้ว่ารู้จักฝ่ายชาย ว่าเค้าเคยแต่งงานมาก่อนหรือไม่ และจะแต่งงานกับใคร และว่าการแต่งงานที่จะเกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างญาติใกล้ชิดกับญาติใกล้ชิดอะไรประมาณนี้

4. Passport สำเนาหนังสือเดินทางฝ่ายชาย

5. Skilsmisseattest ใบหย่า (ถ้าหากเค้าเคยสมรสมาก่อน)

6. Skifteattest ถ้ามี ใบรับรองว่าบ้านที่เค้ามีที่นี่เป็นของเขาคนเดียว (เป็นใบที่บอกว่าบ้านที่มีอยู่เป็นของเขาคนเดียว ทางอดีตภรรยาไม่มีสิทธิใดๆ) 

7. Erklæring om skifte แบบฟอร์มใบชี้แจงเรื่องกรรมสิทธิ์ของบ้าน (กรณี พึ่งหย่าได้ไม่เกิน 2 ปี ทางอดีตภรรยาของเค้าจะต้องเซ็นต์ในใบนี้ด้วย, ถ้าหากหย่ามานานเกินกว่า 2 ปี ทางฝ่ายชายสามารถเซ็นต์คนเดียวได้

8. Opplysninger om tilkommende ektefelle (เป็นแบบฟอร์มเกี่ยวกับรายละเอียดส่วนตัวของฝ่ายหญิง ซึ่งทางแฟนคุณจะต้องกรอกใบนี้ ไปด้วยว่า เค้าจะแต่งงานกับใคร ชื่อะไร วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ รายละเอียดเกี่ยวกับคุณ (ใบนี้ยื่นพร้อมๆ กับใบจากข้อ 1)

9. Bekreftelse på inntekt fra arbeidsgiver eller ligningskontor (ligningsattest for det siste året) หนังสือรับรองรายได้จากนายจ้างของฝ่ายชาย กรณีแฟนคุณ ก็ต้องใช้ใบแสดงภาษีรายได้ปีล่าสุด

10. Originale pass for begge partner หนังสือเดินทางของทั้งสองฝ่าย

          ส่วนเอกสารของฝ่ายหญิงก็จะต้องมี ใบรับรองความเป็นโสด (เป็นภาษาอังกฤษ) ซึ่งจำเป็นต้องให้ สถานกงสุลไทย ประทับตรารับรอง และสำเนาหนังสือเดินทาง ที่ยื่นที่เขตของฝ่ายชายที่มีถื่นที่อยู่ในนอร์เวย์ก่อน เพื่อจะได้รับเอกสาร ใบรับรองโสดของฝ่ายชาย กับหลักฐานต่างๆ ที่แจ้งมาทั้งหมดนี้

          เอกสารทุกอย่างนี้ของฝ่ายชายต้องพร้อม แล้วจึงยื่นสมัครขอจดทะเบียนสมรส โดยกรอกแบบฟอร์มที่ชื่อ Marriage application และยื่นต่อสถานทูตนอร์เวย์ในไทย ซึ่งในแบบฟอร์มนี้ ทางฝ่ายชายต้องกรอกชื่อพยานรับรู้ขอสมัครแต่งงานครั้งนี้จำนวน 2 คน ซึ่งต้องมีที่อยู่ (ถิ่นพำนัก)ที่ประเทศนอร์เวย์

          หลังจากที่สถานทูตลงลายมือชื่อและประทับตราในใบสมัครของแต่งงานนี้แล้ว คุณจะต้องนำใบนี้ไปแปลเป็นภาษาไทย และรับรองการแปลที่กรมการกงศุล กระทรวงต่างประเทศ แล้วจึงไปจดทะเบียนสมรสที่อำเภอได้

          เพิ่มเติม มีข้อยกเว้น แต่เขาไม่ค่อยเอามาบอกกัน เรื่องการจดทะเบียนหย่า ที่ไม่เกิน 2 ปี ต้องให้ ฝ่ายหญิงรับรอง ถ้าทนายความ ที่ทำเรื่องเอกสาร มีการบันทึก สินสมรส ที่ถูกแบ่งไปแล้ว ก่อนเอกสารหย่าจริงจะออกมา และ ทะเบียนบ้าน ใบซื้อขายบ้าน มีชื่อฝ่ายชายคนเดียว มันไม่ต้องให้ฝ่ายหญิงเซ็นต์ เพราะถือว่า ไม่มีอะไรติดค้างกัน ...เขาจะดูจาก เอกสารประกอบ และ เกี่ยวกับศาล หรือ ระยะเวลา การแยกกันอยู่ รวมถึง ทนายที่บันทึกด้วย




บทความเชื่อมโยง
- จดทะเบียนสมรสที่ไทยแล้ว ต้องขอวีซ่าอะไร?

บทความแนะนำ โดย All about Norway
คลิกที่ลิ๊งด้านล่างได้เลยจ้า 

การเรียนภาษา

การหางาน และ นาฟ

วีซ่า

ความรู้ทั่วไป

รีวิว ที่เที่ยวใน Oslo

lørdag 5. desember 2015

การทำหนังสือเดินทางไทย (สำหรับคนอยู่นอร์เวย์)


หากหนังสือเดินทางใคร เหลือน้อยกว่า 6 เดือนก็ไปทำได้เลยค่ะ

การทำพาสปอร์ตไทย ที่ประเทศนอร์เวย์
เข้าไปจองเวลาในเว็บไซด์ ของสถานทูตไทย
http://www.thaiembassy.no/consular/การทำหนังสือเดินทาง



การเดินทางไปสถานทูตไทย ใน Oslo ประเทศนอร์เวย์



หากภาพเล็กไป สามารถคลิกให้มันใหญ่ได้ค่ะ















เช็คลิสต์
สำหรับอายุ 20 ปีขึ้นไป

o    บัตรประจำตัวประชาชน + สำเนา 1 ชุด ที่ยังไม่หมดอายุ
o    หนังสือเดินทางเล่ม + สำเนาหน้าแรก 1 ชุด
o    สำเนาทะเบียนบ้านไทย
o    อื่นๆ ถ้ามี สำเนาใบเปลี่ยนชื่อและนามสกุล ,  สำเนาทะเบียน สมรสทะเบียนหย่า
o    คำร้องนิติกรณ์เพื่อทำหนังสือเดินทาง เขียนได้ที่สถานทูต

  • เงินสด 300 Nok ถ้วน


ถ้าบัตรประชาชนหาย หรือ หมดอายุต้องทำบัตรใหม่ก่อน ไม่ต้องจองเวลา เข้ามาทำได้เลย จันทร์-ศุกร์ 9.00-12.00 *


  1.    ถ้าบัตรหมดอายุ    สามารถเข้ามาทำบัตรได้  
หรือ ต่อบัตรได้ก่อนบัตรหมดอายุได้ 60 วัน โดยไม่มีค่าธรรมเนียม
          o     นำบัตรใบเดิม พร้อมสำเนา 1 ชุด
2.    กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย ค่าธรรมเนียม 25 kr
          o     เตรียมเอกสารประจำตัว ที่มีภาพถ่ายซึ่งออกโดยหน่วยราชการไทย เช่น หนังสือเดินทาง หรือใบขับขี่ พร้อมสำเนา 1 ชุด
          o     สำเนาทะเบียนบ้าน  1 ชุด

          o     หลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลจากเขต หรืออำเภอ พร้อมสำเนา 1 ชุด

_________________________________________________________________________





สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี

o    สำเนาสูติบัตรไทย
o    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
o    สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์, ของพ่อ และแม่
o    สำเนาทะเบียนสมรสของพ่อและแม่
o    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน+หนังสือเดินทางไทยพ่อและแม่
o    หนังสือเดินทางเล่มเก่า พร้อมถ่ายสำเนาหน้าแรก
o    สำเนาเอกสารแสดงอำนาจการปกครองบุตร (ปค.14) 
o    เอกสารอื่น ๆ ถ้ามี เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล


พ่อแม่ต้องมาลงนามต่อหน้าจนท.ด้วย
*ถ้าพ่อแม่มาไม่ว่าง ต้องทำหนังสือมอบอำนาจและให้ความยินยอม โดยต้องไปลงนามต่อจนท. เขต อำเภอ. หรือกองหนังสือเดินทาง

*ถ้าพ่อแม่อยู่เมืองไทย ต้องทำหนังสือให้ความยินยอม ให้บุตรทำหนังสือเดินทางผ่านกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (กทม.) หรือผ่านที่ว่าการอำเภอ (ต่างจังหวัด)

*ถ้าพ่อแม่จดทะเบียนหย่าแล้ว ให้คนที่มีอำนาจปกครองบุตร เป็นผู้ลงชื่อในหนังสือยินยอมแต่เพียงผู้เดียว พร้อมแสดงหนังสือยืนยันอำนาจในการปกครองบุตร (เอกสาร ป.ค. 14)

*ถ้าพ่อหรือแม่เสียชีวิต ให้นำใบมรณะบัตรมาด้วย


______________________________________________


ส่งกลับทางไปรษณีย์
         หากไม่สะดวกมารับ เตรียมซองกันกระแทก ขนาด 20 * 27 ซม จ่าหน้าซองถึงตัวเอง ลงทะเบียนอย่างน้อย 210 kr มาด้วย

_____________________________________________

การเดินทางไปสถานทูตไทยในนอร์เวย์ Oslo
______________________________________________






บทความแนะนำ โดย All about Norway
คลิกที่ลิ๊งด้านล่างได้เลยจ้า 

การเรียนภาษา

การหางาน และ นาฟ

วีซ่า

ความรู้ทั่วไป

รีวิว ที่เที่ยวใน Oslo

mandag 2. november 2015

คอร์สจากนาฟ ตอน(2) ปสก.เรียน Kontormedarbeiderkurs

Kontor kurs คู๊ชแรกจากนาฟ

01.06.15 
          เริ่มเรียน Kontormedarbeiderkurs เป็นวันแรก โรงเรียนอยู่แถว Carl Berners Plass Stasjon แล้วก็เดินๆ ข้ามถนนๆ ซอกซอก ประมาณ 7 นาที ก็ถึง ที่อยู่ Reaktorskolen AS Dælenenggata 26, 0567 Oslo


http://www.skb.no/eiendom/daelenengagata-26/

          Kontormedarbeiderkurs คือ คอร์สเกี่ยวกับการทำงานบนออฟฟิต จบไปก็ไปทำงานในสายงานออฟฟิต เช่น  Resepsjon, sentralbord, arkiv, rengskap, kundebehandling เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทำงานในอดีตด้วย

          เราเรียนอยู่ชั๊น 5 บนสุดเลย เดินขึ้นลงทุกวัน เพื่อการออกกำลังกายวันละนิดจิตแจ่มใส 

          ารไปเรียนวันแรกนี่.....เป็นอะไรที่มึนตึบ ไม่เข้าใจ 100% คอร์สนี้มีแต่คนนอร์ช หรือไม่ก็คนที่มาอยู่นานแล้ว มีแต่คนเก่งๆ นั้น เรารู้เลย ว่าเราด้อยสุดเลย ในเรื่องภาษานะ


ในห้องเรียน
          ช่วงระยะเวลา 4 อาทิตย์แรกที่ไปเรียนนี่ ถือว่าเป็นช่วงที่กดดันที่สุด เรียนเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง ครูก็มีหลายคน และเพื่อนก็พูดดิอาเล่กฟังยากมากๆ แถมมีแต่คำศัพท์ยากๆ ทั้งนั้นเป็นพวกศัพท์เฉพาะ วันๆ เรียนไป เปิดคำศัพท์ไป จด ท่อง ไป เป็นแบบนี้ทุกวัน เราต้องเรียนหนักกว่าชาวบ้าน ด้วยข้อจำกัดของภาษานั่นเอง

         การเรียนที่นี่ จะเน๊นการพูดหน้าชั๊นเรียนมากๆ แรกๆ ก็กลัวสุดๆ ตื่นเต้น แต่หลังๆ เริ่มชินขึ้นทุกวัน เราถือว่าการเรียนการสอนแบบนี้ เป็นการสอนที่ดี เพื่อให้เรามีความมั่นใจในตัวเอง กล้าพูด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น และเน้นการทำงานเป็นกลุ่มเป็นหลัก


ทางเดินหน้าห้อง
          เพื่อนที่คอร์สเรียนนี้ดีมาก เป็นกันเอง ให้ความช่วยเหลือกันดีมาก ซึ่งไม่เคยพบเจอมาก่อน ไม่มีจะมาโชว์ว่าใครเก่งกว่าใคร หรืออิจฉากัน ทำให้เราอยากไปเรียนทุกวัน และอาทิตย์แต่ละอาทิตย์ผ่านไปเร็วมากจนไม่ทันตั้งตัว

          ช่วงที่เรียนอยู่นี้ บางคนออกได้ออกไปฝึกงานตั้งแต่ 2 อาทิตย์แรก ถ้าคนไหนพร้อม ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนจนครบ 20 สัปดาห์ ฝึกงาน 10 สัปดาห์ ตามที่เค้ากำหนดมาแต่แรก

          ที่คอร์สเรียนเค้าจะหาที่ฝึกงานให้ (แต่ไม่ทั้งหมด) หมายถึง ครูมีข้อมูลพื้นฐานบริษัทอยู่แล้ว ครูก็โทรศัพท์ไปติดต่อสอบถามบริษัทต่างๆ ว่าเค้าต้องการเด็กฝึกงานไหม เค้าก็จะส่งรายละเอียดมาให้ที่ครู แล้วครูก็จะเอามาประกาศว่าในชั๊นเรียนว่า ใครสนใจทำงานอันนี้บ้าง ถ้าสนใจก็ส่ง Cv ไปให้ครู แล้วครูก็จะส่งต่อไปให้บริษัท บริษัทจะนัดสัมภาษณ์ ถ้าได้ก็จะได้ไปฝึกงานที่นั่น แต่ละที่ฝึกงานแตกต่างกันบ้าง บางที่ฝึกงาน มีโอกาสได้บรรจุเป็นพนง.ประจำ บ้างก็ได้เป็นพนง.ชั่วคราว บ้างก็ได้แค่ฝึกงานเฉยๆ ไม่มีโอกาสพัฒนาต่อยอด แต่ก็ถือว่าได้ปสก.และได้เอาไปเขียนใน Cv


โรงอาหารอยู่ชั้นหนึ่ง ติดกับรีเซฟชั่น นานๆ จะซื้อเค้ากินสักที
          ในช่วงเรียนสัปดาห์แรกๆ จะเน้นเรื่องเกี่ยวกับตัวเองซะส่วนมาก เช่น ประวัติตัวเอง และรายงานหน้าชั้นเรียนบน Power Point


06.07.15 - 27.07.15 
ปิดเรียน 3 อาทิตย์ เป็นช่วงวันหยุดซัมเมอร์

          หลังจากปิดซัมเมอร์ไป 3 อาทิตย์ หูย...กลับมาแล้วขี้เกียจขึ้นเป็นกอง แต่ก็ทนเรียนต่อไป การเรียนประกอบไปด้วยวิชาต่างๆ ดังต่อไปนี้ 

Korrespondanse การเขียนจดหมาย เขียนให้ถูกหลัก เว้นกี่บรรทัด วรรคตอน ตัวหนา สั่งสำคัญ ฯลฯ

Booking og møtearrangering การจัดการการประชุม การสัมนานอกสถานที่ ต้องทำแจกแจงรายการ เตรียมอุปกรณ์ อาหาร ราคา ที่พัก การเดินทาง งบประมาณ ส่วนลด พิธีกร บลาๆๆ เป็นงานกลุ่ม และมีรายงานหน้าชั้นเรียน เหมือนจะง่าย แต่ยากนะ

Kundebehandling, Service og etikk. Resepsjon og sentralbord พวกนี้เน้นทฤษฎี  ไม่มีไรมากมาย


Arkivering og dokumentbehandling i Public 360 เป็นโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ เกี่ยวกับการจัดการเอกสาร เช่น องค์กรเราได้จดหมายมา เราต้องพิจารณาว่า จดหมายนี้มาจากใคร จะส่งต่อไปไหน หรือจดหมายภายในองค์การ และเราก็ทำการแจงแจงในโปรแกรม Public 360 ก่อนที่เราพิมพ์รายละเอียดลงในโปรแกรม เราต้องเข้าใจทั้งหมดของจดหมายด้วย ตรงนี้แหละที่ยากตรงที่เราต้องเขียนสรุปย่อ ว่าจดหมายนั้นเกี่ยวกับอะไร ยังไง เรื่อง Akiv เรียนประมาณ 3 สัปดาห์ เยอะกว่าวิชาอื่น


Faktura og ordrebehandling Visma Global เป็นโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ ชื่อ Visma Global เกี่ยวกับ การทำใบกำกับสินค้า บลาๆ เน้นการกรอกข้อมูล ว่าซื้ออะไรไปบ้าง ส่วนลดเท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่ ฯลฯ

Personal og lønn – Huldt & Lillevik เป็นโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ ชื่อ Huldt & Lillevik เป็นการทำงานเกี่ยวกับการคำนวณเงินเดือนของแต่ละคนในองค์กร บางคนอาจ ขาดงาน ป่วย ไปพักร้อน เงินเกษียน เป็นต้น ก็มีแต่ตัวเลขมากมาย เหมะสำหรับคนชอบตัวเลข


CRM

CRM i SuperOffice เป็นโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ ที่ทำเกี่ยวกับการจัดการทำงาน คล้ายๆ กับออแกไนเซอร์ เช่น นัดการประชุม แจ้งเตือน จัดเก็บรายชื่อลูกค้า บริษัทที่เกี่ยวข้อง บลาๆ ใช้งานร่วมกับ Booking og møtearrangering ได้ดี ไม่ยากมากเท่าไหร่ 

Ms Office (word,excel,power point,outlook) อันนี้เบๆ เซียนอยู่แล้ว ;)

กฏหมายการทำงาน อันนี้งานกลุ่ม และรายงานหน้าชั้นเรียน หัวข้อนี้ ดูเหมือนจะง่าย แต่ยากมากกกกก พาเครียดกันทั้งอาทิตย์ ไม่ใช่เราคนเดียวนะ คนนอร์ชแท้ๆ ก็เครียด เพราะด้วยคำศัพท์เป็นศัพท์เฉพาะที่ยากจะเข้าใจ

การเขียน Cv และการเขียน Søknad ในหัวข้อนี้จะใช้เวลานานมาก แก้ไขเป็นร้อยๆ รอบ กว่าจะได้เพอเฟค Cv ส่วน Søknad ก็เปลี่ยนไปเรื่อย ขึ้นอยู่กับงานที่เราจะสมัคร ใช้เวลากับ Cv , Søknad อยู่หลายอาทิตย์เหมือนกัน ครูจะกระตุ้นตลอดว่า เขียนเสร็จยัง แก้ยัง หาที่ฝึกงานยัง หางานยัง เซิกไปยัง โทรไปสอบถามบริษัท หรือยัง วอร์คอินไปส่ง Cv หรือยัง บอกได้เลยว่า เยอะ!!

การสัมภาษณ์งาน ก็คือ การเทรนการสัมภาษณ์งาน เรียนรู้เกี่ยวกับคำถาม ควรจะพูดตอบ แต่งตัว วางตัว ยังไง ในการไปสัมภาษณ์งาน



อีกวิชาเรียกว่าอะไรดีล่ะ วิชา''ตามหาตัวเอง''แล้วกัน เค้าจะให้หา จุดอ่อน จุดแข็ง ของตัวเอง, นิสัยที่แท้จริง, อะไรที่เราอยากทำ, อะไรที่เราอยากจะเป็น เป็นต้น

การทำโปรเจค ส่วนใหญ่เน้นเป็นงานกลุ่ม และรายงานหน้าชั๊นเรียน บ่อยมากกกกก ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ล่ะ ชอบงานเดี่ยวมากกว่า ไอที่ไม่ชอบๆ นี่แหละ มีทุกอาทิตย์เลย เซ็ง...

          ในแต่ละวิชา บางวิชาใช้เวลา 1 - 2 อาทิตย์ หรือบางวิชาอาจใช้เวลาแค่ 3 อาทิตย์จบ

          ครูบางคน ก็สอนโคตรเร็ว ครูบางคน ก็สอนโคตรช้า และดิอาเล่กต่างกัน ยากมากกกกกกกกกที่จะเข้าใจเหอๆ

01-10-15
          นักเรียนในห้องตอนนี้เหลือ 6 คน รวมเราด้วย ฮ่าๆๆๆ บางคนก็ได้ที่ฝึกงานแล้ว แต่ยังไม่ถึงกำหนดวันเริ่มงาน ก็จะยังมานั่งเรียนรอเวลาอยู่ได้ ส่วนเราไม่อยากทำงานในออฟฟิตแล้ว เปลี่ยนใจซะงั๊น หลายอย่างมาเป็นส่วนประกอบ เช่น ปวด แสบ แห้ง ที่ตามากๆ , ปวดร้าวตั้งแต่ข้อมือขึ้นไปถึงหลังซีกขวาทั้งส่วน เนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน เพราะอยู่ที่โรงเรียนต้องนั่งหน้าคอมฯ ตลอด 
          สำหรับเรา การนั่งทำงานออฟฟิตเฉยๆ ทั้งวันเป็นอะไรที่น่าเบื่อมาก ไม่ได้ขยับอะไรมากมาย หรือเรียกอีกอย่าง นั่งรากงอกทั้งวัน เลยบอกครูว่า ชั๊นจะฝึกงานสาขาอื่น (แกล้งแอ๊บว่า ภาษานอร์ชชั้นไม่ได้เรื่อง ทำงานออฟฟิตไม่ได้หรอก) ตอนแรกอยากฝึกงานที่อนุบาล ตอนแรกครูบอกโอเค พอหาที่ฝึกได้แล้ว ครูบอกไม่ให้ฝึกที่อนุบาล (ครูแม่ม กวนตรีนมาก) จะให้เราไปฝึกร้านขายเสื้อผ้าแทน อะไรวะ เซ็งเป็ด 

          หาที่ฝึกงานที่บานาฮาเก้นง่ายมาก เราแค่ส่งอีเมลล์ไป แนบ Cv , Søknad และใบผ่านนอร์ช B1 ยกตัวอย่าง เราส่งไป 6 ที่ ติดต่อกลับมา 4 ที่ บ้างส่งอีเมลล์กลับมาหาเรา บ้างก็โทรมาหาเรา เนื้อหอมมากเลยอะ ฮ่าๆๆ (แต่บางคนก็บอกว่ายาก ไม่รู้อะ เราว่าง่าย :D )

          แต่ตอนอยู่ไทยก็ทำงานออฟฟิตนะ ก็เป็นอาการเดียวกับตอนนี้แหละ ปวด แสบ ตา และมีอาการปวดที่ซีกขวา แต่ตอนนั้นก็ทนไป เพราะคิดว่ามันคงหาย แต่ก็ไม่ 

02-10-15
          และอิฉันก็ไปสัมภาษณ์งานร้าน Mango ที่สาขา Karl Johan สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ พอดีหัวหน้าเป็นคนสเปน พูดนอร์ชไม่ได้ แล้วภาษาอังกฤษเราก็ได้แค่ถูไถ เห้อ....เลยบอกหัวหน้าว่า ภาษานอร์เวย์ชั๊นดีกว่าภาษาอังกฤษ คอนเฟิร์ม!! 
          เริ่มฝึกงานที่ Mango วันแรกที่ 13-10-15

กำหนดเรียนจบทฤษฎี จริงๆ แล้ว 06-11-15


          เรียนทฤษฎี กับ ฝึกงาน ได้เงินจากนาฟเหมือนกัน วันละ 345 kr. และค่าเดินทางวันละ 37 kr. (ถ้าบ้านมีระยะทางไกลเกิน 6 km.ได้เงินช่วยค่าเดินทาง) เงินเข้าทุกสองอาทิตย์หลังจากที่ส่ง melde kort ฉะนั้น ก็จะได้ 3820 kr. ต่อสองอาทิตย์

ไว้อ่านต่อเรื่องหน้า เกี่ยวกับการฝึกงานร้านเสื้อผ้า Mango นะจ๊ะ



บทความเชื่อมโยง

บทความแนะนำ โดย All about Norway
คลิกที่ลิ๊งด้านล่างได้เลยจ้า 

การเรียนภาษา

การหางาน และ นาฟ

วีซ่า

ความรู้ทั่วไป

รีวิว ที่เที่ยวใน Oslo