lørdag 13. desember 2014

Oslo พิพิธภัณฑ์โนเบล - Nobel Peace Center

          หลังจากที่ได้มีการแจกรางวัลโนเบลให้กับ Malala และ Kailash ไปแล้ว เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2014 ที่ Rådhus Oslo, Norway

          วันที่ 12 ธันวาคม 2014 ได้ไปดูนิทรรศการ ที่ศูนย์สันติภาพโนเบล (Nobel Peace Center) พอดีอ่านหนังสือพิมพ์เค้าบอกว่า วันที่ 12 เข้าฟรี ตอนเที่ยง ก็รีบไปเลยค่ะ ของฟรีไม่เคยพลาด มีเวลาเดินเยี่ยมชมแค่ 1 ชม.เท่านั้น หลังจากนั้นก็ต้องเสียตัง

พอเข้าไปถึง ก็จะเจอพนักงานด้านหน้า ซื้อตั๋วตรงนี้ล่ะ 


          ซื้อตั๋วแล้วก็เดินเข้ามาทางร้านขายของที่ระทึก เอ้ย..ที่ระลึก เพื่อเอาของมาเก็บที่ตู้ พนง.จะให้เหรียญมาหนึ่งเหรียญ ตอนจะล๊อคตู้ ต้องใส่เหรียญนั้น แอบยุ่งยากนิดนึง คือ ตอนแรกไม่รู้ว่าที่ใส่เหรียญอยู่ตรงไหน ที่แท้อยู่ด้านใน สู้กับตู้ล๊อคเกอร์อยู่สัก 10 นาที เพราะ พอปิดตู้แล้วครั้งแรก ลืมว่าสติ๊กเกอร์ที่พนง.ให้ต้องแปะอกเข้าไปด้วย พอเปิดตู้อีกที อ้าว เหรียญก็ลงไปแล้ว ก็ล๊อคไม่ได้อีก ต้องไปขอเหรียญพนง.ใหม่ (ไม่ใช่เราคนเดียวที่ไม่รู้ 90% เลยล่ะ แล้วเราก็ช่วยบอกคนอื่นด้วยว่าทำไง)


แล้วเราก็เดินเข้ามาในนิทรรศการ ถ้าเดินไปทางซ้าย จะดูเรื่องราวของ Malala กับ Kailash

ถ้าเลือกเดินไปทางขวา จะมาทางนี้ และเดินขึ้นไปชั้น 2

เหรียญโนเบล

ชั๊น 2



ชอบห้องนี้ที่สุด สวยดี

โชว์ภาพเหล่าผู้ที่เคยได้รับรางวัล อดีต จนถึง ปัจจุบัน






ห้องจัดแสดงภาพวาดของเด็ก

From Thailand ครับท่าน

ฮะ Thailand อีกภาพ

นี่ก็อีกภาพ Thailand

และสุดท้าย Thailand รวมทั้งหมด 4 ภาพ เลยอะ
          ถ้าไม่สังเกตนี่ไม่รู้เลยนะนี่ เคยมาครั้งนึงแล้ว แต่ไม่ได้สนใจ ครั้งนี้เห็นว่าเป็นภาพจากไทย โอ้ย..ภูมิใจแทน เพราะที่สังเกต ประเทศละภาพล่ะ ไทยปาไป 4 เลย :D

เดินๆ มาเรื่อยๆ

ห้องสุดท้าย ก่อนลงไปชั้นล่าง

นี่คือนิทรรศการ ของ Malala กับ Kailash

ออกแนวเศร้าๆ นะ เพราะบางอันโชว์ภาพและบอกว่า เด็กเหล่านี้คือ เด็กที่หายตัวไป

          นี่คือเสื้อผ้าที่ Malala ใส่ ตอนที่ถูกยิงเข้าที่หน้า ตอนนั้นเธออายุได้เพียง 15 ปี ดูสิ ยังอาบไปด้วยเลือด.... วันก่อน Malala ก็มาดูนิทรรศการ หลังจากเธอมาเห็นชุดนี้ เธอถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่

          เพียงเพราะเธอเรียกร้องให้ผู้หญิงในปากีสถานได้รับการศึกษา และตอนปี 2012 กลุ่มตาลีบัน ได้บุกไปที่ รร. และถามหาใครชื่อ Malala นางก็ยืนขึ้น จากนั้น......ก็ถูกยิง

This picture from http://www.nrk.no/nyheter/1.11978176

Kailash ไม่ค่อยรู้เรื่องลุง Kailash นัก ประมาณว่า เค้าช่วยเหลือเด็กนับหมื่นจากแรงงานเด็ก



จบแล้วจ้า.....ทางออกก็คือทางที่ขายของที่ระลึกนั่นล่ะ


เวลาทำการ
วันจันทร์ - วันอาทิตย์ 
ราคาตั๋ว
ผู้ใหญ่: 90 kr.  
นักเรียน / ผู้สูงอายุ: 60 kr.
เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี เข้าฟรี

OPENING HOURS
Mon-Sun 10-18
Ticket
Adult: 90 kr
Students / seniors: 60 kr
Children under 16 years: Free

Address
Rådhusplassen i Oslo
Tlf: 48 30 10 00

เว็บไซค์หลัก หาข้อมูลเพิ่มเติม....


รีวิวสถานที่ท่องเที่ยว โดย All about Norway


- Review : Oslo มีอะไรน่าสนใจ 

- Reveiw : The Viking Ship Museum (เรือไวกิ้ง) 

- Review : Stortinget รัฐสภาแห่งนอร์เวย์

- Review : Akershus Festning 

- Review : Norsk Folkemuseum Oslo พิพิธภัณฑ์การใช้ชีวิตแบบเก่

- Review : Vigelands Park in Frogner Park in Oslo (สวนรูปปั้นหิน)

- Review : Nobel Peace Center in Oslo (โนเบล) 

- Review : Aker Brygge at Oslo in Norway (ท่าน้ำ ท่าเรือ) 

- Review : Botanisk Hagen in Oslo (สวนต้นไม้) 

- Review : ร้านขายของที่ระลึกในนอร์เวย์ 

- Review : ร้านขายของถูกจิปาถะ ที่นอร์เวย์ ''Søstrene Grene'' http://all-about-norway.blogspot.no/2015/03/sstrene-grene.html

- Review : ร้านขายของถูกจิปาถะ ที่นอร์เวย์ ''TGR'' 

- Review : เก็บสตอเบอรี่จากสวนด้วยตัวเอง ที่นอร์เวย์ 

onsdag 10. desember 2014

อยากมาทำงานที่นอร์เวย์ ต้องเริ่มจาก..


          If you wish to come to Norway to work, you need a residence permit. You must normally have found a job first. What residence permit you should apply for depends on your competence and the type of work you will be doing in Norway. READ MORE about http://www.udi.no/en/want-to-apply/work-immigration/



ถ้าจะมาทำงานที่นอร์เวย์ คุณจะต้องมี Residence Permit 
วีซ่าที่จะเข้ามาเรียนภาษาก่อน แล้วค่อยหางานทำนั้น ไม่มีแล้ว!!!!

          ดังนั้น ถ้าอยากจะมาทำงานที่นอร์เวย์ ก็ต้องมาด้วยวีซ่าทำงาน(ต่อปีต่อปี)หรือ วีซ่านักเรียน(2ปี) วีซ่าจะขอได้นั้น ต้องได้รับการตอบรับจากสถานทำงาน และ สถานศึกษาก่อน         

          วีซ่าท่องเทียว 90 วัน แล้วมาเสี่ยงหางานทำเอาข้างหน้า ถ้าโชคดีได้งานประจำ ก็จะได้ทำงานอยู่นอร์เวย์ไปยาวๆ และเปลี่ยนวีซ่า ถ้าหางานได้แค่พาร์ทไทม์ล่ะ.....ไม่สามารถอยู่ต่อได้ ต้องกลับประเทศภายในระยะเวลาที่วีซ่ากำหนด

------------------------------------------------------------------------


บทความแนะนำ คลิกที่ลิ๊งด้านล่างได้เลยจ้า

การเรียนภาษา

การหางาน และ นาฟ

วีซ่า

ความรู้ทั่วไป

onsdag 26. november 2014

วีซ่า 7 days กับ วีซ่า Residence

กรุณาเช็คข้อมูล ทางสถานทูตนอร์เวย์ในเมืองไทย และ udi.no

          หลังจากการจดทะเบียนสมรสที่ไทยมี 2 ทางใหญ่ให้เลือก

1. ยื่น วีซ่า Residence  
          คือ รอผลการพิจารณาที่เมืองไทย (สำหรับคนไม่รีบบินมานอร์เวย์ แต่เมื่อผลวีซ่าออก ก็บินมานอร์เวย์ติดต่อเรื่องเรียนได้เลย) เช็คระยะเวลาการพิจารณา<<คลิก

          เมื่อมาถึงนอร์เวย์แล้ว ติดต่อรายงานตัวกับตำรวจภายใน 7 วัน (โทรนัด หรือนัดออนไลน์) และติดต่อทำเรสฯ ในวันที่รายงานตัว (นำเอกสารแปลที่ได้คืนจากศูนย์ยื่นวีซ่ามาด้วย พร้อมพาสปอร์ต) 2. ยื่น วีซ่า 7 day 
          คือ เมื่อเราได้วีซ๋า 7 days สามารถบินมานอร์เวย์ได้เลย (สำหรับคนที่คิดถึงแฟนมากมาย

          เมื่อถึงนอร์เวย์แล้ว ต้องไปรายงานตัวภายใน 7 วัน (โทรนัด หรือนัดออนไลน์) และก็ยื่นสมัคร  Residence รอผลการพิจารณาที่นอร์เวย์ 

          ข้อเสียของวีซ่า 7 days คือ เมื่อมาถึงนอร์เวย์ ไม่สามารถเรียนได้ จนกว่าจะได้ Residence และเลขประจำตัว ต้องนั่งตบยุง เร่ร่อน เตร็ดเตร่ ไปวันๆ แต่บางคอมมู! เรียนได้ ก็ต้องไปคุยกับเค้า กฎที่นี่ไม่มีอะไรแน่นอน

ระยะการพิจารณา 7 days  ประมาณ 3-4 เดือน
เช็คระยะเวลาการพิจารณา Residence <<คลิก

หรือ

2. ยื่น วีซ่า 7 day และ วีซ่า Residence พร้อมกัน 
          คือ เมื่อเราบินมานอร์เวย์ก็ไปรายงานตัวภายใน 7 วัน และนั่งรอนอนรอ Residence อนุมัติ (หลายคนบอกว่ายื่น Residence ที่ไทย ใช้ระยะเวลารอนานกว่า อันนี้ไม่รู้นะจ๊ะ เค้าว่ากันงั๊น)


* การไปรายงานตัว แต่ละคอมมูแตกต่างกัน บางที่จองผ่านอินเตอร์เน็ต บางที่โทรจองเท่านั้น

เอกสารการยื่น 7 days และ Residence เหมือนกันเป๊ะ



Søknader om 7-dagers visum



การจดทะเบียนสมรสที่เมืองไทย
คลิกที่ลิ๊งเลยจ้า เป็นภาษานอร์ช >>>


การยื่นคำร้องขอวีซ่าออนไลน์
ทำตามนี้เลยจ้า คลิกลิ๊ง >>>


ข้อมูลเกี่ยวกับการขอวีซ่า 
คลิกที่ลิ๊งเลยจ้า เป็นภาษาไทย >>>
http://www.vfsglobal.com/norway/thailand/thai/allaboutyourvisas.html


การย้ายถิ่นฐานตามครอบครัว 
มีเงื่อนไขอะไรบ้าง คลิกลิ๊งจ้า เป็นภาษาไทย >>>
http://www.emb-norway.or.th/NR/rdonlyres/8DE2C99C9EBF4BB1B6CDCEE4CFF595E0/50550/Family%20immigration%20info%20in%20Thai%20020114.pdf



บทความแนะนำ โดย All about Norway
คลิกที่ลิ๊งด้านล่างได้เลยจ้า 

การเรียนภาษา

การหางาน และ นาฟ

วีซ่า

ความรู้ทั่วไป

รีวิว ที่เที่ยวใน Oslo

lørdag 8. november 2014

การส่งวุฒิการศึกษาให้ Nokut เพื่อเทียบวุฒิ

การเทียบวุฒิ ที่นอร์เวย์
http://www.nokut.no/en/

          ก่อนที่เราจะส่งเอกสารไปให้ Nokut  (โนกุท) พยายามหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ไม่มีใครเขียนรายละเอียดเลยว่า อะไร ยังไง บ้างมีข้อมูลแต่เก่ามากไม่ละเอียด และไม่ชัวเรื่องเอกสาร คือ งง มาก สรุป ก็ต้องหาข้อมูลศึกษาลองผิดลองถูกเอง ทีนี้เราก็จะมาแชร์ให้ประโยชน์ให้เพื่อนๆ เพื่อความง่าย สะดวก และไม่ต้องมึนงง อีกต่อไป


ขั้นตอนแรกทำยังไง? (ถ้ามีวุฒิเป็นภาษาอังกฤษออกโดยสถานศึกษา ง่ายนิดเดียว)
1 เตรียมเอกสาร วุฒิการศึกษาที่เป็นภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมต้น, มัธยมปลาย, ปวช, ปวส, ปริญญา (อย่าลืมใบปะหน้าว่าจบปริญญาด้วย)
2 ถ่ายเอกสารให้เรียบร้อย 
3 ไปสถานีตำรวจ เพื่อปั๊มตราตำรวจว่าสำเนาถูกต้อง พร้อมลายเซ็น (ที่นอร์เวย์) เอาฉบับจริงไปด้วยล่ะ (หรือไปให้นาฟรับรองสำเนาก็ได้)

ถ้ามีวุฒิการศึกษาเป็นภาษาไทย ต้องทำไง?
1 ต้องเอาไปแปล อย่าแปลเอง เดี๋ยวงานเข้า (เสียตังเยอะ)
2 ปั๊มตราสถานทูตไทย (เสียตังเยอะ)
3 ถ่ายเอกสาร
4 ไปสถานีตำรวจ เพื่อปั๊มตราตำรวจว่าสำเนาถูกต้อง พร้อมลายเซ็น (ที่นอร์เวย์) เอาฉบับจริงไปด้วยล่ะ (หรือไปให้นาฟรับรองสำเนาก็ได้)


          ปล. แนะนำว่า ถ้าใครไม่มีวุฒิฉบับภาษาอังกฤษ กลับไปสถานศึกษาเก่า และทำเรื่องขอ เสียตังไม่กี่บาท สิบ ยี่สิบบาทเอง อ้อ...แล้วก็อย่าลืมถ่ายรูปใหม่เพื่อเอาไปให้สถานศึกษาตอนขอฉบับภาษาอังกฤษด้วยละ ใส่เสื้อเชิ๊ตขาว เรียบร้อย (ถ้าไปจ้างแปลไหนจะต้องปั๊มตราสถานทูตอีกเสียเป็นพันบาท)


กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเอง และวุฒิการศึกษา 
เสร็จแล้วก็ปริ๊นออกมา
http://www.nokut.no/Documents/NOKUT/Artikkelbibliotek/Utenlandsk_utdanning/soknadsskjema/Application_form_2014_EN.pdf


ถ้าจบมากกว่า 2 วุฒิ ก็กรอกเพิ่ม 
http://www.nokut.no/Documents/NOKUT/Artikkelbibliotek/Utenlandsk_utdanning/soknadsskjema/Supplemental_form_2013_EN.pdf


ตรงข้อ 3 ที่เราต้องกรอก ตรง Education
สำหรับคนจบมัธยมปลาย
Certificate of Secondary Education (Upper Secondary – Mamayom (MOR) 4 to Mamayom (MOR) 6

สำหรับคนจบปวช.
Certificate of Vocational Education (POR WOR CHOR)


สรุปสิ่งที่ต้องส่งไปมีอะไรบ้าง
1 สำเนาพาสปอร์ต ถ่ายเฉพาะหน้าตัวเอง พร้อมปั๊มตราตำรวจสำเนาถูกต้อง พร้อมลายเซ็นต์ (หรือไปให้นาฟรับรองสำเนาก็ได้)

2 สำเนาวุฒิการศึกษาฉบับภาษาอังกฤษ ที่ปั๊มตราตำรวจสำเนาถูกต้อง พร้อมลายเซ็นต์ (หรือไปให้นาฟรับรองสำเนาก็ได้)

3 สำเนาวุฒิการศึกษาฉบับภาษาไทย ที่ปั๊มตราตำรวจสำเนาถูกต้อง พร้อมลายเซ็นต์ (หรือไปให้นาฟรับรองสำเนาก็ได้)

4 เอกสารที่ปริ๊นออกมาด้วย ที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเองและการศึกษา


ส่งเอกสารไปยังที่อยู่ของ Nokut 
NOKUT,
P.O. Box 578,
1327 Lysaker, NORWAY

          หลังจากส่งเอกสารไปแล้ว เมื่อเอกสารถึง Nokut เค้าจะส่งอีเมล์มาแจ้งเรา บลาๆๆ ว่าอาจต้องใช้เวลาประมาณ 4 เดือน แต่บางครั้ง Nokut  ก็ส่งจดหมายมาขอเอกสารเพิ่ม เราก็ส่งไปตามที่เค้าต้องการ แค่นี้แหละ ไม่ยากเลยเนอะ บอกละเอียดขนาดนี้แล้ว

สามารถอ่านข้อมูลได้ในนี้เป็นภาษานอร์ช-อังกฤษ
Required documents Thailand
http://www.nokut.no/en/Foreign-education/NOKUTs-general-recognition/Country-specific-documentation/Thailand/

Apply for General recognition
http://www.nokut.no/en/Foreign-education/NOKUTs-general-recognition/Apply-for-General-recognition/

          หลังจากส่งเอกสารไป Nokut ก็รอประมาณ 2 อาทิตย์กว่าๆ ก็ได้เอกสารรับรองวุฒิกลับมา ได้ไวดี อิอิ (ทีนี้ถ้าใครถาม หรือนาฟถามจะได้บอกว่า ชั๊นมีใบเทียบวุฒิแล้ว จะได้ตอบได้อย่างเต็มปาก) :D



ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
เสียตังแค่ค่าซองกับค่าสแตมป์ตอนส่งเอกสารไปเท่านั้น!!

เพิ่มเติม


__________________________________________________________
          แนะนำสำหรับคนต้องการแปลเอกสารที่นอร์เวย์ พอดีมีพี่รู้จักคนนึง ชื่อเมย์ เค้ารับแปลเอกสาร ติดต่อเค้าได้ที่
 https://www.facebook.com/TranslatingThaiEnglish


บทความแนะนำ โดย All about Norway
คลิกที่ลิ๊งด้านล่างได้เลยจ้า 

การเรียนภาษา

การหางาน และ นาฟ

วีซ่า

ความรู้ทั่วไป

รีวิว ที่เที่ยวใน Oslo

mandag 20. oktober 2014

สแกนราคาสินค้า ร้านขายของเอเชีย ใน Oslo

อัพเดทเนื้อหา ปี 2016
          ร้านเอเชียบางร้าน.....พี่แกไม่ชอบติดป้ายราคาสินค้าโชว์ แบบจะให้เราหยิบไปถามราคาทุกสิ่ง เดี๋ยวเค้าก็จะด่าเอา บางทีก็หยิบๆ ซื้อไปโดยไม่รู้ว่าราคาเท่าไหร่ พอจ่ายเงินทีถึงกับหน้ามืดไปหลายครั้งเลยล่ะ แพงมหาโหด!! แล้วสมมุติ ถ้าพี่แกโกงราคาสินค้า เราก็ไม่รู้อีกใช่ปะล่ะ
                             ครก ไซค์กลาง   ราคา    65 kr.  (ตอนปี 2013 ราคาถูกมาก)
                             ที่ขูดมะละกอ    ราคา     45 kr.  
                             มะละกอ           โลละ     98 kr.  
                             ลูกชิ้นปลา        ห่อละ    15-20 kr. บางร้าน
                             ชะอม                ห่อละ    12 kr.   
                             กุ้งแห้ง 100g   ห่อละ      40 kr. 
                             M150               ขวดละ   25 kr. 

(คิดเป็นเงินไทยก็ คูณ 4 เข้าไป)

                          โออิชิ                   ขวดละ   22 kr.   
                          วุ้นเส้น ไซค์กลาง   ห่อละ    8 kr.   
                          ลูกชิ้นปลา ห่อเล็ก ห่อละ   18 kr.  
                          เต้าหู้ฟองน้ำ          ห่อละ   35 kr.   
                         แผ่นเกี๊ยว                ห่อละ   45 kr.   
                         เส้นเซี่ยงไฮ้แห้ง     ห่อละ   20 kr. 

          ตัวอย่าง แผ่นเกี๊ยวที่ซื้อมาก็ไม่มีราคาสินค้าบอก หยิบมาเสี่ยงดู พอมาเช็คใบเสร็จ โอ้วแม่เจ้า ราคาตั้ง 45 kr. แน่ะ เออ คราวนี้รู้แล้ว คราวหน้าจะไม่ซื้อมันอีก ฯลฯ


                             ป๊อกกี้                 กล่องละ  12 kr.
                             พวก Lobo ซองส่วนใหญ่   10-13 kr.
                             เต้าหู้ไว้ผัด          แพ๊คละ    23 kr.


ฮานามิ          ห่อละ    14 kr.
มาม่า             ห่อละ    4-5 kr.


        เส้นใหญ่          แพ๊คละ    50 kr.
        เส้นหมี่เหลือง        แพ๊คละ    55 kr.
โคตรแพงอะ

ผักชี ห่อละ 18 kr. แต่ถ้าใบเหลืองๆ ลดราคาเหลือ 8 kr.

ผักกระเพรา ห่อละ 15 kr. ถ้าใบเสียๆ ลดเหลือ 8 kr.

                             ผักบุ้ง                ห่อละ     25 kr. 
                            ถั่วฝักยาว(10 เส้น)ห่อละ  25 kr.
                            หน่อไม้        กระป๋องละ   10  kr.  
                            ฝักทอง                โลละ    65 kr. 
                            ข้าวต้มมัด แช่แข็ง 2 มัด   35 kr. 
                             เส้นหมี่ไวไว ไซค์ 200 g    7 kr.
                            ซอสพริก ฯลฯ  ขวดละ     20 kr.  
      

          ราคาสินค้า บางอย่างก็รับได้นะ แต่บางอย่างก็แพงเว่ออะ ตัวอย่าง แตงกวา 5 อัน ข้อสั้นๆ เล็กๆ แพ๊คละ 20 kr. แต่ถ้าไปซื้อร้านพวก kiwi อันใหญ่ ยาว อันละ 11 kr. ไรงี๊ มะนาวร้านเอเชียก็แพง ซื้อพวกร้าน kiwi ดีกว่า

หม้อหุงข้าว 2,700 kr.

ครกหิน 275 kr.
ส่วนที่ห่อด้วยนสพ.น่าจะครกไม้ 
เพราะมีสากไม้ข้างๆ ราคา 230 kr.


          เวลาจะซื้อสินค้าร้านเอเชีย สิ่งสำคัญที่สุดของการช้อปปิ้ง คือ การดูวันหมดอายุ เจอบ่อยมากกกกกกๆๆๆๆ บ้างสินค้าหมดอายุแล้ว บ้างก็จวนจะหมดเพียงอีกไม่กี่เดือน อันนี้เราไม่โทษร้านนะ เพราะบางทีร้านก็ไม่รู้ว่าสินค้าไหนหมดอายุแล้ว ถ้าแกรู้แกก็จะเอาสินค้านั้นน่ะ มาลดราคา เช่น กุลิโกะป๊อกกี้ หมดอายุไปแล้ว ลดเหลือ 3 กล่อง 10 kr. ด้วยความอยากรู้ เราก็ซื้อมาลองว่าเป็นไง ปรากฎว่า แกะออกมาแล้ว.......ที่มันเป็นช็อคโกแลต ขึ้นเป็นเกล็ดสีขาวๆ ทั้งหมดเลย คนซื้อไปยังไงก็ซื้อไปทิ้งอยู่ดี ทางร้านก็ไม่อยากขาดทุน ก็เลยเอามาลดราคา คนซื้อ ผู้บริโภคก็ต้องมีสติในการช้อปด้วยนะฮะ อย่าเห็นแต่ของถูก!!

ขนมถ้วยแช่แข็ง 6 ถ้วย 50 kr.

ขนมตาลแช่แข็ง 4 ชิ้น 35 kr.

          สำหรับเรา สิ่งที่เราคิดว่าแพง จะเป็นพวก เส้นบะหมี่, เกี๊ยว, มะละกอ, ฝักทอง, มะม่วง, เต้าหู้, ถั่วฝักยาว, ที่ขูดมะละกอ.....

บางคนอยากได้เส้นขนมจีนแห้งมาต้ม
นี่จ้า...ตัวอย่าง
เส้นขนมจีนแห้ง ต้มแล้วหน้าตาออกมาเป็นแบบนี้ คล้ายๆ ของจริงมาก แต่เส้นลื่นกว่ามาก!!

จะบอกว่า ของราคาแพงขึ้นจากปี 2014 มากๆ
เฮ้อ...ปาดเหงื่อแป๊ป :P